แก้นอนกรนแบบไม่ผ่าตัดในปัจจุบัน การรักษาแก้ปัญหาอาการนอนกรนมีหลากหลายวิธีที่ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัด ซึ่งสามารถรักษาได้หลายวิธีพร้อมกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
หนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยม คือ การใช้เครื่องมือทันตกรรมสำหรับรักษานอนกรน (Oral Appliance) ที่ช่วยขยายช่องทางเดินหายใจในขณะหลับ ร่วมกับการบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจส่วนต้น (Myofunctional Therapy) ที่ช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อที่หย่อนคล้อย การรักษานี้ช่วยขยายช่องทางเดินหายใจไม่ให้แคบลง เป็นการรักษาอาการนอนกรนจากต้นเหตุ ที่สามารถให้ผลลัพธ์ที่ดีต่อสุขภาพโดยรวมในระยะยาวได้อีกด้วย
สาเหตุของอาการนอนกรน
การนอนกรนมักมีหลายปัจจัยที่เป็นสาเหตุ โดยสาเหตุหลักที่พบบ่อย มีดังนี้
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA)
อาจเกิดจากโครงสร้างใบหน้าที่ผิดปกติ เช่น คางสั้น กล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้นไม่แข็งแรง ทำให้ลิ้นหย่อนลงไปอุดช่องทางเดินหายใจ
- น้ำหนักเกินหรืออ้วน
มีไขมันสะสมบริเวณใต้คางหรือเหนียง สามารถทำให้ช่องทางเดินหายใจถูกกดทับในขณะที่กำลังนอนหลับ ทำให้เกิดอาการหยุดหายใจชั่วคราวและมีเสียงกรนเกิดขึ้น
- การดื่มแอลกอฮอล์
แอลกอฮอล์ทำให้กล้ามเนื้อทางเดินหายใจส่วนต้นและกล้ามเนื้อโคนลิ้น ช่องทางเดินหายใจก็จะเกิดการอุดกั้นที่ทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) และเสียงกรนได้
อาการเสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
อาการเหล่านี้เป็นตัวบ่งชี้ว่าคุณอาจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) ที่ทำให้เกิดปัญหาการนอนกรน และควรได้รับการตรวจสอบและรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางและผู้เชี่ยวชาญ
- มีเสียงกรนดังต่อเนื่อง
- เสียงกรนที่สลับกับการเงียบ
- นอนเยอะแล้ว แต่ยังรู้สึกเหมือนนอนไม่พอ
- อาการหลงลืมและสมาธิสั้น
- การสะดุ้งตื่นกลางดึก
- นอนไม่หลับ
การตรวจและการรักษานอนกรน
การตรวจหาสาเหตุและระดับความรุนแรงของการนอนกรนสามารถทำได้ผ่านการตรวจการนอนหลับ Sleep Test เป็นการวัดค่าและเก็บข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับของคุณ เช่น
- การวัดความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA)
- การวัดระดับออกซิเจนขณะนอนในแต่ละท่า
- การวัดความดังของเสียงกรน
- การวัดอัตราการเต้นของหัวใจ
- การเช็ค Sleep Stage (ระยะการนอนหลับ)
- การตรวจท่าทางการนอนที่ส่งผลต่อภาวะหยุดหายใจ
ตรวจการนอนหลับที่บ้านกับ VitalSleep Clinic สะดวก ปลอดภัย แม่นยำ
- ไม่ต้องเดินทาง อยู่ที่ไหนก็ตรวจได้ แม้คุณจะอยู่ต่างจังหวัด
- ใช้งานง่าย อุปกรณ์ขนาดกะทัดรัด แค่ติดตั้งก่อนนอน
- ผลแม่นยำ วิเคราะห์โดยแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับ
- รู้ผลไว พร้อมให้คำแนะนำแนวทางการรักษา
หลังจากการตรวจการนอนหลับ Sleep Test แล้ว แพทย์เฉพาะทางจะนำผลการตรวจมาใช้ในการวินิจฉัย วางแผนการรักษาที่เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล
วิธีการรักษาแก้นอนกรนแบบไม่ผ่าตัด
- การบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจส่วนต้น (Myofunctional Therapy)
- การใช้เครื่องมือทันตกรรมรักษานอนกรน (Oral Appliance)
- การรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency)
- การใช้เครื่อง CPAP (Continuous Positive Airway Pressure)
ข้อด้อยของการผ่าตัดแก้นอนกรน
การผ่าตัดแก้นอนกรนอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น
- การสูญเสียเลือด
- การบวมของแผลผ่าตัด
- การหายใจลำบากหลังการผ่าตัดในช่วงแรก
- ต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลเพื่อติดตามอาการเป็นเวลา 2-3 วัน
ข้อดีของการรักษานอนกรนแบบไม่ผ่าตัด
วิธีการรักษาแก้นอนกรนแบบไม่ผ่าตัดมีหลายทางเลือก แพทย์เฉพาะทางจะเลือกวิธีที่เหมาะสมตามอาการของแต่ละบุคคล สามารถใช้หลายวิธีร่วมกันเพื่อรักษาได้ทั้งต้นเหตุและปลายเหตุ เช่น การใช้เครื่อง CPAP เพื่อช่วยขยายทางเดินหายใจร่วมกับการบำบัดกล้ามเนื้อ Myofunctional Therapy
การรักษาที่ถูกต้องยังเป็นผลดีต่อสุขภาพโดยรวมในระยะยาว โดยเฉพาะในคนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมอง
ในกรณีที่สงสัยว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) ควรเข้ารับการตรวจการนอนหลับ Sleep Test และปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม เพื่อการนอนหลับที่ดีขึ้นและส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวม
“รักษานอนกรน ที่ต้นเหตุ Better Sleep for Better Tomorrow”
สรุป
วิธีการรักษาแก้นอนกรนแบบไม่ผ่าตัดในปี 2025 มีความหลากหลายและมีประสิทธิภาพสูง ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องมือทันตกรรม การบำบัดกล้ามเนื้อ การรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุ หรือการใช้เครื่อง CPAP ซึ่งแต่ละวิธีมีข้อดีเฉพาะที่ตอบโจทย์ปัญหาอาการนอนกรนในแต่ละกรณี การเข้ารับการตรวจ Sleep Test เพื่อตรวจหาสาเหตุและระดับความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญในการรักษา สุขภาพการนอนที่ดีมีผลโดยตรงต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของเรา ดังนั้น หากคุณมีปัญหาการนอนกรน ควรรีบหาทางแก้ไขเพื่อสุขภาพที่ดีและคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน