Sex เสื่อมเพราะนอนกรน หลายคนอาจเคยเจอกับปัญหาคู่รักนอนกรน มักจะถูกมองข้าม เพราะหลายคนคิดว่าเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย ไม่น่ามีผลกระทบที่สำคัญต่อสุขภาพ แต่รู้หรือไม่ว่าอาการนอนกรนสามารถเป็นสัญญาณเตือนของโรคอื่น ๆ ที่ร้ายแรงได้ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และสามารถส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพทางเพศได้ การหาวิธีรักษาการนอนกรนจึงไม่ใช่แค่เพื่อคุณภาพการนอนหลับที่ดีขึ้น แต่ยังช่วยรักษาความสัมพันธ์และสุขภาพทางเพศของคู่รักได้อีกด้วย
การนอนกรนในผู้ชายและผู้หญิง
หลายคนอาจเข้าใจว่าผู้ชายมีแนวโน้มที่จะมีอาการนอนกรนที่มากกว่าผู้หญิง แต่งานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าผู้หญิงก็สามารถนอนกรนได้เหมือนผู้ชายเช่นเดียวกัน
จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Sleep Medicine ในปี 2008 ที่ศึกษาการนอนกรนในประชากรวัยทำงานของประเทศสวีเดน พบว่า 24.5% ของผู้หญิงมีอาการนอนกรน มีอัตราที่ใกล้เคียงกับผู้ชาย ที่มีอัตราการนอนกรนอยู่ที่ 30.3% อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ทำให้การนอนกรนแตกต่างกันไป อาจเกี่ยวข้องกับลักษณะทางร่างกาย ฮอร์โมน และการใช้ชีวิต

การนอนกรนมีผลต่อสมรรถภาพทางเพศหรือไม่?
มีงานวิจัยที่ว่าภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OSA) มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาทางเพศ โดยเฉพาะภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (ED) ในผู้ชาย การหยุดหายใจขณะหลับอาจส่งผลให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง การผลิตไนตริกออกไซด์ลดลง การไหลเวียนของเลือดไปยังบริเวณอวัยวะเพศบกพร่อง ผลมาจากการขาดออกซิเจนระหว่างการนอนหลับ นอกจากนี้ยังส่งผลให้เกิดความเหนื่อยล้าและง่วงนอนในระหว่างวัน ซึ่งทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลงไม่เฉพาะในผู้ชายเท่านั้น แต่ยังอาจกระทบถึงเพศหญิงได้เช่นกัน
สาเหตุของการนอนกรน
การนอนกรนสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้วิธีการรักษาอาการนอนกรนในผู้ชายและผู้หญิงอาจแตกต่างกันไปหลายปัจจัย ได้แก่
- โครงสร้างทางกายภาพ
เช่น ทางเดินหายใจแคบ ต่อมทอนซิลขยายใหญ่ มีลิ้นไก่ยาว ทั้งหมดนี้สามารถเพิ่มโอกาสการนอนกรนได้ - น้ำหนักตัวเกิน
โดยเฉพาะบริเวณลำคอที่กดทับทางเดินหายใจ ทำให้มีอาการนอนกรนได้มากขึ้น - ท่านอนหงาย
ท่านี้ทำให้ลิ้นและเนื้อเยื่ออ่อนยุบตัวไปด้านหลัง อาจเกิดการปิดกั้นทางเดินหายใจได้ - การดื่มแอลกอฮอล์หรือยาระงับประสาท
การใช้สิ่งเหล่านี้ในช่วงก่อนนอนอาจทำให้เกิดการนอนกรนได้ - อาการคัดจมูกจากโรคภูมิแพ้หรือหวัด
การอุดกั้นทางเดินหายใจจากสาเหตุเหล่านี้สามารถทำให้เกิดการกรนได้ - อายุที่มากขึ้น
กล้ามเนื้อในลำคอจะอ่อนแอลง ทำให้เสี่ยงต่ออาการนอนกรนมากขึ้น - ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
เป็นภาวะที่ทำให้การหายใจขัดข้องขณะนอนหลับ

วิธีแก้ปัญหานอนกรนด้วยตนเอง
แม้ว่าจะไม่มีวิธีที่สามารถรักษาอาการนอนกรนได้ด้วยตัวเองแบบรับประกัน 100% ว่าจะหายนอนกรนได้ แต่ก็มีวิธีการปรับเปลี่ยนวิธีการชีวิตที่สามารถช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการนอนกรนได้
- ปรับเปลี่ยนท่านอน ลองเปลี่ยนเป็นนอนตะแคงแทนการนอนหงาย
- ลดน้ำหนักตัว เพื่อให้ทางเดินหายใจส่วนต้นกว้างขึ้น
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์หรือยาระงับประสาทก่อนนอน
- ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อให้ทางเดินหายใจชุ่มชื้นอยู่ตลอด
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ที่ทำให้เนื้อเยื่อในลำคอระคายเคือง
- ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อในลำคอ
วิธีการรักษานอนกรนที่ VitalSleep Clinic
มีวิธีการรักษาทั้งแบบไม่ต้องผ่าตัดและการผ่าตัด โดยวิธีรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด ได้แก่ การบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ (Myofunctional Therapy) การใช้เครื่องมือทันตกรรม (Oral Appliance) การใช้คลื่นความถี่ความถี่สูง (Radiofrequency) และการใช้เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก (CPAP)
สำหรับคนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่รุนแรงมาก การผ่าตัดเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อขยายทางเดินหายใจ การผ่าตัดขากรรไกร (Maxillomandibular advancement, MMA) เคลื่อนขากรรไกรไปข้างหน้าเพื่อเพิ่มพื้นที่ทางเดินหายใจ
สิ่งสำคัญคือต้องรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวินิจฉัยและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับสภาพของแต่ละคน เพราะการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับมีผลกระทบต่อสุขภาพของคุณในระยะยาว การได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้คุณและคนที่คุณรักสามารถนอนหลับได้ดี
สรุป
การนอนกรนไม่ใช่แค่ปัญหาเล็กน้อยที่รบกวนการนอนหลับของคุณหรือคู่รักเท่านั้น แต่ยังสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย สมรรถภาพทางเพศ และสุขภาพจิตได้ด้วย อาการนอนกรนอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่ร้ายแรงกว่าที่คาดคิด ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ