ในปัจจุบัน ผู้คนเริ่มให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหารหรือการออกกำลังกาย แต่สิ่งหนึ่งที่มักถูกละเลยคือการดูแลคุณภาพการนอนหลับ ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นสิ่งสำคัญมากต่อชีวิตประจำวัน การนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพหรือมีปัญหาอื่น ๆ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว และอาจก่อให้เกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ เช่น
- โรคสมองเสื่อม
- โรคซึมเศร้า
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคหลอดเลือดสมอง
- เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
“ทุกคนมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ หากปล่อยไว้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ควรตรวจคุณภาพการนอนหลับเพื่อการรักษาอย่างทันท่วงที”
สุขภาพการนอนหลับสำคัญกว่าที่คุณคิด
การนอนหลับที่ดีไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนชั่วโมงที่นอนเพียงอย่างเดียว บางคนอาจนอน 7-8 ชั่วโมง แต่ตื่นมารู้สึกไม่สดชื่น หรือมีอาการเพลียหรือง่วงนอนมากในระหว่างวัน อาจเป็นเพราะกำลังมีปัญหาในการนอนอยู่ เช่น มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับโดยไม่รู้ตัว การทำ Sleep Test เป็นอีกทางเลือกที่จะช่วยให้ทราบปัญหาการนอนอย่างแม่นยำ
ทำความรู้จักวงจรการนอนหลับ
การนอนหลับของมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ระดับหลัก ๆ คือ
- การนอนหลับแบบ Non-REM ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระยะ
- ระยะที่ 1: ระยะนี้สมองจะทำงานช้าลง หากถูกปลุกในช่วงเวลานี้ จะไม่รู้สึกงัวเงีย อาจมีการสะดุ้งตื่น (Hypnic Jerk) จากการรู้สึกเหมือนว่าตัวเองตกจากที่สูง
- ระยะที่ 2: การนอนหลับช่วงระยะนี้ช่วยกระตุ้นความจำระยะสั้นและเพิ่มสมาธิได้
- ระยะที่ 3: เป็นช่วงที่หลับลึก ร่างกายพักผ่อนเต็มที่ มีการหลั่งฮอร์โมน Growth Hormone ถ้าถูกปลุกช่วงนี้จะงัวเงียมาก ๆ
- การนอนหลับแบบ REM Sleep (Rapid Eye Movement Sleep) ช่วงนี้สมองทำงานใกล้เคียงกับตอนที่ตื่นนอน มีการเคลื่อนไหวของดวงตาอย่างรวดเร็วและมีโอกาสฝันในช่วงที่หลับอยู่ การนอนในระยะนี้ช่วยในการเก็บข้อมูล การสร้างจินตนาการ และความทรงจำระยะยาว
ใครบ้าง เสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ?
แม้ภาวะหยุดหายใจขณะหลับสามารถเกิดได้กับทุกคน และสามารถเกิดได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง แต่ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้ที่มีโครงสร้างทางเดินหายใจผิดปกติ เช่น คอใหญ่ น้ำหนักเกิน ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่จัด หรือมีประวัติครอบครัวที่เคยเป็นภาวะนี้มาก่อน
อาการเสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
- กรนเสียงดังมาก และกรนเป็นประจำ หายใจเหมือนกรน สร้างความรำคาญต่อผู้ที่นอนร่วมด้วย
- กรนแล้วหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ ตามด้วยอาการสำลักขณะนอนหลับ
- หายใจติดขัดหรือหายใจแรงขณะนอนหลับ
- นอนหลับไม่เต็มอิ่ม ตื่นขึ้นมาบ่อย ๆ
- ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกไม่สดชื่นและปวดหัว
- ง่วงนอนมากในช่วงระหว่างวัน เช่น หลับในขณะทำงานหรือตอนที่กำลังขับรถ
- อารมณ์หงุดหงิดง่าย ขาดสมาธิ และความจำไม่ดี
- มีความรู้สึกทางเพศลดลง
หากคุณมีอาการเกิน 3 ข้อ จากด้านบน ควรรีบมาปรึกษาแพทย์เพราะอาจเข้าข่ายภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
วิธีการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
การปรับพฤติกรรมสามารถช่วยลดความเสี่ยงเบื้องต้นได้ เช่น
- ลดการดื่มแอลกอฮอล์และเลิกสูบบุหรี่ทุกชนิด ซึ่งจะส่งผลให้ทางเดินหายใจทำงานได้ดีขึ้น ลดอาการบวมหรือความผิดปกติระบบทางเดินหายใจได้
- ออกกำลังกายควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อช่วยให้พัฒนาระบบทางเดินหายใจได้
- เปลี่ยนท่านอน เป็นท่านอนตะแคง เพื่อช่วยให้ทางเดินหายใจโล่งขึ้น เพราะการนอนตะแคงจะสามารถทำให้หายใจได้สะดวกมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม การรักษาที่ดีที่สุดคือการเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์เฉพาะทาง การทำ Sleep Test ช่วยตรวจสอบระดับการหยุดหายใจขณะหลับ วัดระดับออกซิเจน เสียงกรน และอัตราการเต้นของหัวใจในขณะนอนหลับ ซึ่งจะช่วยวิเคราะห์ว่าการนอนท่าใดมีความเสี่ยงมากที่สุด โดยเฉพาะในผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive sleep apnea หรือ OSA) หรือมีพฤติกรรมผิดปกติระหว่างการนอน
ผล Sleep Test ที่จะวิเคราะห์การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายระหว่างการนอนหลับ ยกตัวอย่างเช่น
- วัดระดับความรุนแรงของการหยุดหายใจขณะหลับ
- วัดระดับออกซิเจนขณะหลับ
- วัดระดับออกซิเจนในแต่ละท่านอน
- วัดระดับความดังของเสียงกรน
- วัดระดับการนอน (Sleep stages)
- วัดอัตราการเต้นของหัวใจ
- เช็คว่านอนท่าไหนหยุดหายใจมากสุด
สรุป
การนอนหลับที่ดีเป็นปัจจัยสำคัญต่อสุขภาพโดยรวม หากคุณสังเกตเห็นอาการเสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ไม่ที่จะควรละเลย ควรรีบเข้ามาพบแพทย์เพื่อการรักษาที่เหมาะสม และหากมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับอื่น ๆ สามารถปรึกษา VitalSleep Clinic ซึ่งมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการรับรองจาก American Board of Dental Sleep Medicine คนไข้จะได้รับการรักษาที่ตรงจุด ได้คำแนะนำเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะทุกปัญหาการนอนไว้วางใจ VitalSleep Clinic