วิธีรักษานอนกรนที่หลาย ๆ คนอาจจะกำลังมองหาวิธีที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ เพื่อจะได้นอนหลับอย่างมีคุณภาพและตื่นขึ้นมาพร้อมกับความสดชื่นในทุก ๆ เช้า อาการนอนกรนที่เกิดขึ้น นอกจากจะเป็นปัญหากับคนที่อยู่รอบตัวคุณแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวของคุณเองอีกด้วย
ลองมาดู 7 วิธี ที่สามารถช่วยลดอาการนอนกรนได้โดยไม่ต้องพึ่งอุปกรณ์
- ลดน้ำหนัก
สำหรับคนที่มีน้ำหนักเกิน ไขมันที่สะสมอยู่บริเวณลำคอมากอาจไปกดทับทางเดินหายใจ การลดน้ำหนักจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการนอนกรนแล้ว ยังส่งผลดีต่อสุขภาพในหลาย ๆ ด้านอีกด้วย - งดดื่มชา กาแฟ และแอลกอฮอล์ก่อนนอน
เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์สามารถทำให้กล้ามเนื้อบริเวณลำคอหย่อนลงมากขึ้นตอนที่เรานอนหลับ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้อย่างน้อย 4 ชั่วโมง ก่อนเข้านอน - หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ก่อนนอน
เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการอักเสบและบวมของเนื้อเยื่อทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้เกิดการคัดจมูกและหายใจติดขัด - นอนหลับให้เพียงพอ
การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอทำให้ร่างกายอ่อนล้า กล้ามเนื้อบริเวณลำคอและช่องทางเดินหายใจหย่อนตัวลงได้ง่ายขึ้น ควรจัดตารางการนอนให้เพียงพอเพื่อลดความเสี่ยงของอาการกรน - หลีกเลี่ยงยาบางชนิด
เช่น ยานอนหลับ ยาระงับประสาท และยาแก้แพ้ชนิดง่วง อาจมีผลข้างเคียงทำให้กล้ามเนื้อในลำคอหย่อนตัวลง ทางเดินหายใจแคบลงและเกิดอาการกรน - ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ช่วยเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในร่างกาย รวมถึงกล้ามเนื้อในบริเวณลำคอ ทำให้การหย่อนตัวของเนื้อเยื่อในช่องปากและลำคอในขณะนอนหลับลดลง
ทั้ง 7 วิธีที่แนะนำนี้เป็นเพียงวิธีการดูแลตัวเองเบื้องต้น แต่หากคุณทำตามแล้วยังมีอาการนอนกรนอยู่ หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย ควรรีบเข้ามาพบแพทย์เพื่อตรวจการนอนหลับ Sleep Test และรับการรักษาอย่างถูกวิธี
สัญญาณของภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่ควรสังเกต
- เสียงกรนดังมาก ได้ยินแม้อยู่ในห้องที่ปิดประตู
- นอนกระสับกระส่าย ขยับตัวเยอะในขณะหลับ
- ปวดศีรษะเมื่อคุณตื่นนอนตอนเช้า
- ตื่นขึ้นมาหายใจแรง สำลัก หรือรู้สึกหายใจติดขัด
- ง่วงนอนระหว่างวันมากกว่าปกติ
- มีความต้องการทางเพศลดลง
หากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการเหล่านี้ ควรรีบเข้ารับการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เพื่อทำการวินิจฉัยและได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เพราะภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นอันตรายที่อาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว
การรักษาอาการนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับโดยแพทย์เฉพาะทาง
ที่ VitalSleep Clinic เรามีวิธีการรักษาอาการนอนกรนโดยไม่ต้องผ่าตัดที่ได้ผลดี 4 วิธี ได้แก่
- การบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ (Myofunctional Therapy)
เป็นนวัตกรรมการรักษาที่ช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าและทางเดินหายใจให้แข็งแรง เป็นวิธีที่แพทย์แนะนำเพราะช่วยแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุได้
- เครื่องมือทันตกรรม (Oral Appliance)
เครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ทางเดินหายใจเปิดกว้างขึ้นในขณะที่นอนหลับ โดยจะช่วยดันขากรรไกรล่างไปข้างหน้าเล็กน้อย ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพในการลดอาการนอนกรน
และที่ VitalSleep Clinic คุณมั่นใจได้ในคุณภาพและความปลอดภัยของอุปกรณ์ เพราะผลิตจากห้องแล็บที่อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทางที่ได้รับการรับรองจาก American Board of Dental Sleep Medicine
- การใช้คลื่นความถี่วิทยุ RF Bot
จะสำหรับคนที่มีอาการกรนจากการหย่อนของกล้ามเนื้อบริเวณโคนลิ้นหรือเยื่อบุจมูก ทำให้ลมหายใจไหลเวียนได้สะดวกขึ้น โดยการรักษานี้จะต้องทำโดยแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น
- เครื่องช่วยหายใจ CPAP
เครื่องช่วยหายใจนี้ ป้องกันทางเดินหายใจไม่ให้ปิดกั้นในขณะนอนหลับ ทำให้คุณรับออกซิเจนได้อย่างเพียงพอ และเหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับอย่างรุนแรง
อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่เดินทางบ่อยหรือไม่สะดวกในการพกพาเครื่อง CPAP แพทย์อาจแนะนำการใช้เครื่องมือทันตกรรมแทนเพื่อความสะดวกกับคนไข้
สรุป
วิธีลดอาการนอนกรนและแนวทางรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่แนะนำโดยแพทย์เฉพาะทาง โดยเริ่มจากการปรับพฤติกรรม เช่น การลดน้ำหนัก, หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และบุหรี่, นอนหลับให้เพียงพอ, ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และ เลี่ยงยาที่ทำให้กล้ามเนื้อลำคอหย่อนตัว หากอาการยังคงอยู่ ควรเข้ารับการตรวจและรักษาโดยแพทย์ เช่น การใช้เครื่องมือทันตกรรม (Oral Appliance), เครื่องช่วยหายใจ CPAP, การทำ Myofunctional Therapy หรือ การใช้คลื่นวิทยุ RF ซึ่งช่วยแก้ไขต้นเหตุของอาการ ที่ VitalSleep Clinic ยังมีเทคโนโลยีทันสมัยและแพทย์เฉพาะทางที่สามารถให้คำแนะนำและรักษาได้อย่างเหมาะสม เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพการนอนที่ดีขึ้นและลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพในระยะยาว