Skip to content
  • อาคารพญาไท พลาซ่า
  • ชั้น 33 ติด BTS
  • สถานี พญาไท ทางออกที่ 1
  • อาคารพญาไท พลาซ่า
  • ชั้น 33 ติด BTS
  • สถานี พญาไท ทางออกที่ 1
รักษานอนกรน ไม่ต้องผ่าตัด
3 วิธีใหม่ Update ล่าสุด
ปี 2025

รักษานอนกรน ไม่ต้องผ่าตัด

3 วิธีใหม่ Update ล่าสุด
ปี 2025
Table of Contents

ปี 2024 ใกล้จะจบลงแล้ว คุณมีของขวัญพิเศษสำหรับตัวเองหรือคนที่คุณรักเตรียมไว้หรือยัง? หลายคนอาจยังลังเลว่าจะเลือกอะไรดีที่จะมีคุณค่ามากพอสำหรับคนที่เราห่วงใย หรือแม้แต่เป็นของขวัญให้กับตัวเอง ซึ่งหากจะพูดถึงของขวัญที่ดีที่สุด คงไม่มีอะไรจะดีไปกว่า “สุขภาพร่างกายที่แข็งแรง” โดยเฉพาะคุณภาพการนอนหลับที่ดี ซึ่งเป็นรากฐานของการมีพลังในการดำเนินชีวิตประจำวัน

ใครมีปัญหาการนอนกรนบ้าง? ถ้ามี การนอนกรนเป็นสิ่งที่อาจดูเล็กน้อย แต่สิ่งนี้มันส่งผลกระทบไม่เล็กเลย การนอนกรนสามารถทำลายคุณภาพการนอนของคุณได้ ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคร้ายต่าง ๆ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA), โรคหลอดเลือดหัวใจ, ความดันโลหิตสูง, และโรคหลอดเลือดสมอง

เมื่อทราบอย่างนี้แล้ว ลองคิดดูว่ามันจะดีแค่ไหน ถ้าหากว่าคุณสามารถมอบของขวัญที่มีคุณค่าอย่าง “การนอนหลับที่ดี” ให้กับตัวเองหรือคนที่คุณรักได้ ด้วยการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจถึงสุขภาพการนอนของตัวเองอย่างละเอียดที่สุด และนำไปหาวิธีแก้ไขปัญหาการนอนกรนที่ได้ผลจริง ไม่เพียงแค่การนอนกรน แต่ยังสามารถช่วยวินิจฉัยปัญหาการนอนอื่น ๆ ได้อีก เช่น การนอนกัดฟัน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือภาวะผิดปกติของการนอนหลับอื่น ๆ

ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปรู้จัก 3 วิธีการรักษาการนอนกรนแบบไม่ต้องผ่าตัด ที่คุณสามารถเลือกได้ก่อนเข้าสู่ปี 2025 เพื่อมอบสุขภาพการนอนที่ดีให้กับตัวเองและคนที่คุณรัก

หลายคนอาจคิดว่าการนอนกรนเป็นเพียงเรื่องปกติที่เกิดขึ้นเมื่อเราเหนื่อยล้าหรือหลับลึก แต่ความจริงแล้วการนอนกรนเป็นสัญญาณแรกของปัญหาสุขภาพที่คุณอาจไม่รู้ และอาจบ่งบอกถึงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้ระบบการหายใจของร่างกายมีความแปรปรวนในขณะหลับ และส่งผลต่อการทำงานของหัวใจอย่างหนัก เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากนี้ การนอนกรนยังมีผลกระทบต่อคุณภาพการนอน ทำให้คุณตื่นบ่อยตอนกลางคืน นอนไม่เต็มอิ่ม และรู้สึกเหนื่อยล้าในวันถัดไป

สำหรับเด็กที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) อาจรุนแรงกว่าที่เราคิด เพราะสามารถส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจของเด็ก ทำให้มีพฤติกรรมก้าวร้าว สมาธิสั้น หรือปัสสาวะรดที่นอน และยังส่งผลต่อการเรียนอีกด้วย

เลือกวิธีรักษานอนกรนแบบไหนให้เหมาะกับคุณ?

การรักษาปัญหานอนกรนมีหลายวิธี การเลือกวิธีที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ โดยการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) จะช่วยประเมินปัญหานอนกรนอย่างละเอียด เพื่อให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างแม่นยำ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับวิธีการรักษานอนกรนแบบไม่ต้องผ่าตัดกัน

1. เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP)

CPAP หรือ Continuous Positive Airway Pressure เป็นเครื่องมือที่ช่วยรักษาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลักการทำงานของ CPAP คือการผลิตแรงดันลมผ่านหน้ากากที่สวมใส่ครอบจมูกในขณะที่กำลังหลับอยู่ เพื่อเปิดทางเดินหายใจที่แคบหรือถูกปิดกั้น ทำให้คุณหายใจสะดวกขึ้นในขณะหลับ และเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย

ข้อดีของการใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP)

  • เห็นผลลัพธ์ชัดเจนได้ตั้งแต่เริ่มใช้
  • แก้ไขปัญหาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่มีความรุนแรง
  • คุณภาพการนอนหลับดีขึ้น ทำให้นอนหลับได้เต็มอิ่มมากขึ้น
  • ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง
  • ลดอาการง่วงนอนในตอนกลางวัน

อย่างไรก็ตาม เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP) มีหลายรุ่นหลายยี่ห้อให้เลือกใช้ เช่น รุ่น Auto ที่สามารถปรับแรงดันลมได้เองอัตโนมัติ และรุ่น Manual ที่ต้องปรับค่าตามการตั้งค่า แต่ไม่ว่าจะเป็นรุ่นใด การใช้งาน CPAP ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์เฉพาะทาง เพื่อให้เลือกใช้เครื่องที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายและการนอนของผู้ใช้งาน

2. เครื่องมือทันตกรรม (Oral Appliance)

อีกหนึ่งวิธีการรักษาการนอนกรนที่ได้รับความนิยม คือการใช้เครื่องมือทันตกรรม หรือ Oral Appliance รู้จักกันในชื่อ เครื่องครอบฟัน ซึ่งเป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่สวมใส่ในปากขณะนอนหลับ เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ลิ้นหรือเนื้อเยื่อในลำคอหย่อนลงมาปิดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้น อุปกรณ์นี้จะช่วยจัดตำแหน่งของขากรรไกรและลิ้นให้อยู่ในตำแหน่งที่เปิดทางเดินหายใจได้ดีขึ้น ช่วยลดการนอนกรนและการหยุดหายใจขณะหลับ

การเลือกเครื่องมือทันตกรรม (Oral Appliance) ให้เหมาะสมกับระดับความรุนแรงและอาการที่เกิดขึ้น ควรอยู่ในการดูแลแนะนำจากแพทย์เฉพาะทางอย่างใกล้ชิด ซึ่งราคาฟันยางนอนกรนจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละรุ่น มีความแตกต่างกันจากวัสดุที่ใช้ในการผลิต รวมไปถึงฟังก์ชั่นการใช้งาน และความสะดวกสบายในการใช้งาน

ข้อดี ของเครื่องมือทันตกรรม (Oral Appliance)

  • ขนาดเล็ก พกพาสะดวก
  • ใส่ง่ายเพียงแค่ครอบฟันขณะนอนหลับ
  • ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าหรือพลังงานเพิ่มเติม
  • ช่วยลดเสียงกรน และทำให้คู่นอนหลับสบายมากขึ้น
  • ลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

การใช้เครื่องมือทันตกรรมนี้ควรได้รับการดูแลและคำแนะนำจากทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะอุปกรณ์แต่ละชิ้นจะถูกออกแบบให้เหมาะสมกับฟันและขากรรไกรของผู้ใช้แต่ละคน

3. การบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ (Myofunctional Therapy)

การบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ (Myofunctional Therapy) เป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาปัญหาการนอนกรนที่ไม่ต้องผ่าตัด วิธีนี้มุ่งเน้นไปที่การฝึกกล้ามเนื้อบริเวณลิ้น ปาก ขากรรไกร และกล้ามเนื้อทางเดินหายใจส่วนต้น เพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อเหล่านี้หย่อนคล้อยลงและปิดกั้นทางเดินหายใจในขณะหลับ

จากงานวิจัยชื่อว่า: Myofunctional Therapy to Treat Obstructive Sleep Apnea: A Systematic Review and Meta-analysis ที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดนี้พบว่า การฝึกกล้ามเนื้อดังกล่าวสามารถช่วยลดอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ถึง 62% ในวัยเด็ก และ 50% ในวัยผู้ใหญ่

ข้อดี ของการบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ (Myofunctional Therapy)

  • เป็นวิธีการรักษาที่ต้นเหตุของการนอนกรน
  • ปลอดภัย ไม่มีความเสี่ยง และเหมาะสำหรับทุกวัย
  • ลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนในอนาคต
  • สามารถฝึกได้ด้วยตนเองที่บ้าน วันละ 1-2 ชั่วโมง
  • ไม่ต้องใส่อุปกรณ์ใด ๆ ขณะนอนหลับ หรืออาจสวมใส่อุปกรณ์ทางทันตกรรม Myobrace เพื่อช่วยให้การบำบัดมีผลลัพธ์ออกมาดีมากยิ่งขึ้น

สรุป

การรักษาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับมีหลากหลายวิธี ตั้งแต่การใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP) เครื่องมือทันตกรรม (Oral Appliance) และการบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ (Myofunctional Therapy) ทั้งนี้ การตรวจสุขภาพการนอนหลับ (Sleep Test) จะเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญในการวินิจฉัยและประเมินสาเหตุของปัญหา ซึ่งแพทย์เฉพาะทางสามารถนำผลจากการตรวจมาประเมินถึงอาการและความรุนแรงที่เกิดขึ้น สำหรับวางแผนและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมให้กับแต่ละบุคคล

Related Blogs and Articles
Sleep Test มีกี่แบบ

Sleep Test มีกี่แบบ และควรเลือกตรวจแบบไหน? การตรวจการนอนหลับ หรือ Sleep test เป็นการตรวจทดสอบเพื่อประเมินสภาพการนอนของเรา ตรวจหาปัญหาการนอนหลับและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โดยการทดสอบนี้มีหลายแบบ แบ่งตามมาตรฐานของสมาคมเวชศาสตร์การนอนหลับแห่งสหรัฐอเมริกา (AASM) แต่ละแบบมีความซับซ้อนและวิธีการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของผู้ป่วยรูปแบบการตรวจ Sleep Testระดับที่ 1 การทดสอบแบบสมบูรณ์โดยมีเจ้าหน้าที่เฝ้าตลอดคืนการตรวจนี้เป็นการทดสอบการนอนหลับที่ละเอียดและสมบูรณ์ที่สุด โดยมีการวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง, คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ, การเคลื่อนไหวของลูกตาและใต้คาง, คลื่นไฟฟ้าหัวใจ, การวัดระดับออกซิเจนในเลือด และการตรวจวัดลมหายใจ ขณะทดสอบมีเจ้าหน้าที่คอยเฝ้าดูตลอดทั้งคืน มักจะทำในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่มีห้องตรวจเฉพาะ การตรวจในระดับนี้มีความละเอียดและแม่นยำมาก เหมาะสำหรับคนที่มีอาการนอนหลับผิดปกติอย่างรุนแรงระดับที่ 2 การทดสอบแบบสมบูรณ์โดยไม่มีเจ้าหน้าที่เฝ้าการทดสอบในระดับนี้จะคล้ายกับระดับที่ 1 ในเรื่องความละเอียดในของการวัดข้อมูล แต่จะไม่มีเจ้าหน้าที่เฝ้าตลอดคืน สามารถทำการตรวจที่บ้านได้ โดยเจ้าหน้าที่จะมาติดตั้งอุปกรณ์ในตอนเย็นแล้วปล่อยให้ทดสอบเองในสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคย ลดความเครียดและความวิตกกังวลได้ข้อดี ของการทดสอบระดับที่ 2 นี้คือ ค่าใช้จ่ายจะน้อยกว่าการตรวจในโรงพยาบาล ไม่ต้องเดินทางหรือเสียเวลารอคิวตรวจเป็นเวลานานระดับที่ 3 การทดสอบแบบจำกัดข้อมูลจะมีความละเอียดน้อยกว่าระดับที่ 1 และ 2 โดยวัดเพียงข้อมูลพื้นฐาน เช่น การวัดการหายใจ การเคลื่อนไหวของหน้าอกและท้อง การวัดระดับออกซิเจนในเลือด และการตรวจวัดเสียงกรน ในบางครั้งอาจมีการวัดคลื่นหัวใจร่วมด้วย จะเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการไม่ซับซ้อนหรือแค่นอนกรนอย่างเดียว เพราะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า แต่มีข้อเสียคือ ไม่สามารถประเมินประสิทธิภาพการนอนหลับได้เต็มที่ เนื่องจากไม่ได้วัดคลื่นสมอง อาจไม่ได้รับข้อมูลที่แม่นยำเท่ากับการตรวจระดับที่ 1 และ 2ระดับที่ 4 การทดสอบวัดออกซิเจนในเลือดและลมหายใจเป็นการตรวจการนอนหลับที่พื้นฐานที่สุด วัดเพียงออกซิเจนในเลือดหรือลมหายใจขณะหลับ ข้อมูลที่ได้รับจากการตรวจนี้มีจำกัดไม่เพียงพอในการวินิจฉัยอาการนอนกรนหรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้อย่างแม่นยำอ่านเพิ่มเติม วิธีการเลือกการตรวจที่เหมาะสม การเลือกวิธีการตรวจที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของปัญหาการนอนหลับของแต่ละคน สำหรับคนที่มีอาการนอนกรนธรรมดา การตรวจในระดับที่ 3 อาจเพียงพอ แต่หากสงสัยว่าตัวเองมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับด้วยไหม ควรพิจารณาการตรวจระดับที่ 1 หรือ 2 ที่มีความละเอียดสูงกว่า สำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวกสบาย การเลือกตรวจที่บ้านในระดับที่ 2 เป็นตัวเลือกที่ดี เพราะสามารถทำในสิ่งแวดล้อมที่คุ้นเคยโดยไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่เฝ้าทาง VitalSleep Clinic มีให้บริการการตรวจการนอนหลับทั้งระดับที่ 1 และ 2 ซึ่งสามารถทำการตรวจที่บ้านของผู้รับการตรวจได้ โดยให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำและสะดวกสบายมากขึ้น ปรึกษาการตรวจการนอนหลับฟรี! ขั้นตอนการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) ระดับ 1 และ 2 https://www.youtube.com/shorts/dGpk79k46ks เริ่มต้นการทดสอบจะเริ่มในช่วงหัวค่ำ ประมาณ 00 น. หรือตามเวลาที่เหมาะสมของผู้รับการตรวจ เจ้าหน้าที่จะทำการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการนอนหลับ กรอกเอกสารความยินยอม หลังจากนั้นจะอธิบายถึงการใช้อุปกรณ์และวิธีการปฏิบัติตัวระหว่างการตรวจการใช้ CPAP สำหรับผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจรุนแรงหากพบว่าผู้รับการตรวจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับระดับรุนแรง เจ้าหน้าที่จะทำการทดลองใส่หน้ากาก CPAP เพื่อช่วยในการรักษาในคืนที่ตรวจเลย เมื่อผู้รับการทดสอบการนอนหลับพร้อมที่จะเข้านอนการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดเจ้าหน้าที่จะทำการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สายวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง, คลื่นกล้ามเนื้อ, การเคลื่อนไหวของลูกตา ตรวจวัดคลื่นหัวใจ นอกจากนี้ยังมีการวัดลมหายใจและการตรวจวัดออกซิเจนในเลือด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมมากที่สุดการตรวจวัดระบบหายใจผู้รับการตรวจจะได้รับการวัดการหายใจโดยมีสายวัดติดบริเวณจมูก สายรัดที่หน้าอกและท้อง รวมถึงการวัดระดับออกซิเจนที่ปลายนิ้ว ในบางกรณีอาจมีการบันทึกภาพจากกล้องวงจรปิดเพิ่มเติม ตามความจำเป็นการทดสอบตลอดคืนสำหรับการตรวจระดับที่ 1 จะมีเจ้าหน้าที่เฝ้าดูในห้องควบคุมเพื่อติดตามการนอนตลอดคืน ในขณะที่การตรวจระดับที่ 2 จะไม่มีเจ้าหน้าที่เฝ้า แต่ผู้รับการตรวจจะนอนหลับอย่างต่อเนื่องตามปกติ คำแนะนำในการเตรียมตัวก่อนการตรวจสวมเสื้อผ้าที่สบายเหมือนชุดที่ใส่นอนตามปกติทุกคืนหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ ชา และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันที่ตรวจหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักในช่วงบ่ายในวันที่ตรวจแจ้งเจ้าหน้าที่หากคุณมีการใช้ยารักษาโรคประจำตัวหลังจากการตรวจเสร็จสิ้นในช่วงเช้า ผู้รับการตรวจสามารถกลับบ้านได้ตามปกติ เจ้าหน้าที่จะนำข้อมูลที่ได้รับไปวิเคราะห์โดยแพทย์เฉพาะทางเพื่อให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำตรวจการนอนหลับที่บ้านกับ VitalSleep Clinic สะดวก ปลอดภัย แม่นยำหากคุณมีปัญหานอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ หรือนอนแล้วไม่สดชื่น การตรวจการนอนหลับที่บ้าน (Home Sleep Test) คือทางเลือกที่สะดวกและง่ายที่สุด!ไม่ต้องเดินทางอยู่ที่ไหนก็ตรวจได้ แม้คุณจะอยู่ต่างจังหวัดใช้งานง่ายอุปกรณ์ขนาดกะทัดรัด แค่ติดตั้งก่อนนอนผลแม่นยำวิเคราะห์โดยแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลังรู้ผลไวพร้อมให้คำแนะนำแนวทางการรักษาที่ Vital Sleep Clinic เรามุ่งเน้นการให้บริการตรวจสุขภาพการนอนหลับที่บ้าน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำใกล้เคียงกับสภาวะการนอนหลับในชีวิตจริง นอกจากนี้เรายังมีทีมแพทย์และเจ้าหน้าที่เฉพาะทางที่พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลในทุกขั้นตอนอ่านเพิ่มเติม สรุป การตรวจการนอนหลับ Sleep Test หรือการตรวจสุขภาพการนอนหลับมีทั้งหมด 4 ระดับ ซึ่งแต่ละระดับมีความซับซ้อนและวิธีการตรวจที่แตกต่างกันออกไป การเลือกวิธีการตรวจที่เหมาะสมกับคุณ ขึ้นอยู่กับลักษณะอาการและความจำเป็นของผู้ป่วย โดยการตรวจระดับที่ 1 และ 2 เป็นการตรวจที่ละเอียดและได้ข้อมูลที่ครอบคลุมที่สุด เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการนอนหลับผิดปกติรุนแรง ในขณะที่การตรวจระดับที่ 3 และ 4 เป็นการตรวจที่จำกัดข้อมูลมากกว่า เหมาะกับผู้ที่มีอาการน้อยหรือไม่ซับซ้อนการเลือกสถานที่ตรวจการนอนหลับ Sleep Test เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ควรคำนึงถึง หากคุณต้องการความสะดวกสบายและต้องการผลลัพธ์ที่แม่นยำ การเลือกทำ Sleep Test ที่บ้านเป็นทางเลือกที่ดี การนอนหลับในสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคยช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น สะดวกในการเข้ารับการตรวจที่ Vital Sleep Clinic เราให้บริการตรวจสุขภาพการนอนหลับที่บ้านของคนที่อยากตรวจ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำและใกล้เคียงกับการนอนในชีวิตประจำวัน หากคุณสนใจอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมหรือรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการตรวจการนอนหลับ สามารถติดต่อเราได้ เรายินดีให้บริการและคำแนะนำที่เหมาะสมแก่คุณ สนใจตรวจการนอนหลับ คลิกเลย

นอนกรนเกิดจากอะไร เช็คด่วน ใครเสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับบ้าง

นอนกรนเกิดจากอะไร? เกิดจากการหายใจผ่านช่องทางเดินหายใจที่แคบลงขณะนอนหลับ จากการอุดกั้นของกล้ามเนื้อและอวัยวะภายในช่องปาก ส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณคอ เช่น เพดานอ่อน ลิ้นไก่ และทอนซิล สั่นสะเทือนจนเกิดเป็นเสียงกรนในขณะที่นอนหลับอยู่ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะทางเดินหายใจแคบลง ได้แก่ระดับความรุนแรงของการนอนกรนอาการนอนกรนสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ตามความรุนแรงของอาการและผลกระทบที่เกิดขึ้น ดังนี้ขอบคุณข้อมูลจาก:ใครบ้างที่เสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ?ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่พบมากในกลุ่มต่อไปนี้อันตรายจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับการตรวจการนอนหลับที่ VitalSleep Clinic กุญแจสู่การนอนหลับที่ดีขึ้นข้อดีของการตรวจการนอนหลับกับ VitalSleep Clinicอ่านเพิ่มเติม:วิธีการรักษาอาการนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ จาก VitalSleep Clinic ได้แก่สรุปภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) เป็นภาวะที่อาจส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ที่ VitalSleep Clinic เรามีแนวทางการรักษาที่ทันสมัยและหลากหลาย เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ลดอาการนอนกรน เพิ่มคุณภาพการนอนหลับ และลดความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อน

จะทำอย่างไร ถ้าการรักษานอนกรน ด้วยเครื่อง CPAP ราคาแพงเกินไป

ปัญหาอาการนอนกรนเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในคนจำนวนมาก โดยบางคนอาจมองว่าอาการนอนกรนเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย ไม่ใช่ปัญหาที่ต้องให้ความสนใจมากนัก แต่ในความเป็นจริงภาวะนอนกรนนั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่เสียงรบกวนเวลานอนหลับเท่านั้น มันยังเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงและอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตได้ภาวะการนอนกรนมักเกี่ยวข้องกับปัญหาการหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) อาจทำให้เกิดอาการหยุดหายใจชั่วขณะในระหว่างการนอนหลับ ภาวะนี้ส่งผลต่อการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย หากปล่อยไว้ไม่รักษาอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต แม้แต่ความเสี่ยงในการเสียชีวิตเฉียบพลันในปัจจุบัน วิธีการรักษาภาวะนอนกรนมีอยู่หลายวิธี หนึ่งในวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางคือการใช้เครื่อง CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) โดยเครื่อง CPAP นี้ทำหน้าที่ส่งแรงดันลมเข้าไปเปิดทางเดินหายใจในขณะหลับ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถหายใจได้อย่างราบรื่น แต่หลายคนอาจพบปัญหาว่าเครื่อง CPAP นั้นมีราคาที่สูง ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงได้ง่าย รวมถึงความยุ่งยากในการใช้งานที่อาจทำให้รู้สึกไม่สะดวก แล้วจะทำอย่างไร หากการรักษาด้วยเครื่อง CPAP มีราคาสูงเกินไป บทความนี้จะแนะนำวิธีการรักษาภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับในทางเลือกอื่น ๆ ที่สามารถทดแทนเครื่อง CPAP ได้ นอนกรนเกิดขึ้นได้อย่างไร? อาการนอนกรนเกิดขึ้นเมื่อทางเดินหายใจถูกอุดกั้นบางส่วนในขณะหลับ เมื่อเรานอนหลับ กล้ามเนื้อต่าง ๆ ในร่างกายจะคลายตัวลง รวมถึงกล้ามเนื้อบริเวณคอ เพดานอ่อน และโคนลิ้น เมื่อกล้ามเนื้อเหล่านี้หย่อนคล้อยลง อาจไปขัดขวางทางเดินหายใจ ทำให้ทางเดินหายใจแคบลง เกิดการสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่อบริเวณนั้น ซึ่งทำให้เกิดเสียงกรนขึ้นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะนอนกรนคืออายุที่เพิ่มขึ้น เมื่อเรามีอายุที่มากขึ้น กล้ามเนื้อต่าง ๆ ในร่างกายก็เริ่มสูญเสียความยืดหยุ่น รวมถึงกล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจ ซึ่งทำให้เกิดการหย่อนคล้อยและปิดกั้นการหายใจได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ภาวะนอนกรนยังสัมพันธ์กับปัจจัยอื่น ๆ เช่น น้ำหนักตัวที่มากเกินไป การดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ ปรึกษาปัญหานอนกรน ฟรี! ทำไมการนอนกรนจึงควรรักษา? แม้ว่าการนอนกรนอาจดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่การอานอนกรนที่เกิดร่วมกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับถือว่าเป็นปัญหาสุขภาพที่ควรให้ความสนใจอย่างยิ่ง การหยุดหายใจขณะหลับทำให้ร่างกายและสมองขาดออกซิเจนในระหว่างการนอนหลับ ซึ่งอาจทำให้คุณภาพการนอนหลับลดลง ร่างกายไม่สามารถฟื้นฟูตัวเองได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้เกิดความเหนื่อยล้าในระหว่างวัน รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคสมองเสื่อมนอกจากนี้ การขาดออกซิเจนยังส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมองโดยตรง ทำให้การประมวลผลข้อมูล การคิดวิเคราะห์ และความจำเสื่อมถอยลงอย่างรวดเร็ว ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับมีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาด้านความจำและสมาธิ รวมถึงมีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา อาการเหล่านี้จะทวีความรุนแรงขึ้นและอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ นอนกรนต้องการปรึกษา ฟรี! เครื่อง CPAP ช่วยรักษาภาวะนอนกรนอย่างไร? เครื่อง CPAP เป็นเครื่องช่วยหายใจที่ใช้สำหรับรักษาภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ โดยหลักการทำงานของเครื่องคือการส่งแรงดันลมเข้าไปในทางเดินหายใจเพื่อเปิดทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น ทำให้ผู้ใช้งานสามารถหายใจได้สะดวกในขณะหลับ เครื่อง CPAP มักใช้ร่วมกับหน้ากากที่สวมใส่บริเวณจมูกหรือปากเพื่อส่งแรงดันลมเข้าสู่ร่างกายแม้ว่าเครื่อง CPAP จะมีประสิทธิภาพสูงในการรักษาภาวะนอนกรน แต่เครื่องนี้มีข้อจำกัดหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของราคาที่สูง ค่าเครื่อง CPAP บางรุ่นอาจมีราคาสูงถึงหลักแสนบาท เครื่องก็ยังมีขนาดใหญ่ ต้องใช้ไฟฟ้า อาจทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกอึดอัดหรือไม่สะดวกสบายในขณะหลับ การรักษานอนกรนแบบไม่ต้องพึ่ง CPAP หากเครื่อง CPAP มีราคาสูงเกินไปและไม่สะดวกในการใช้งาน ยังมีวิธีการรักษาภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับในทางเลือกอื่นๆ ที่สามารถช่วยบรรเทาอาการได้เช่นกัน ดังนี้1. อุปกรณ์ทางทันตกรรม (Oral Appliance)อุปกรณ์ทางทันตกรรมเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ อุปกรณ์นี้ถูกออกแบบมาให้สวมใส่ในปากในระหว่างการนอนหลับ โดยมีลักษณะคล้ายกับเครื่องครอบฟัน อุปกรณ์นี้ช่วยขยับกรามหรือโคนลิ้นไปด้านหน้าเล็กน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้ทางเดินหายใจถูกปิดกั้นขณะหลับข้อดีของอุปกรณ์ทางทันตกรรม คือ มีขนาดเล็ก พกพาสะดวก ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า นอกจากนี้ อุปกรณ์ยังถูกออกแบบเฉพาะบุคคลตามขนาดช่องปากของผู้ใช้งาน ทำให้ใช้งานได้ง่ายและไม่รู้สึกอึดอัดเมื่อเทียบกับเครื่อง CPAP อุปกรณ์ทางทันตกรรมยังเป็นวิธีการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าและสะดวกสบายกว่าการใช้เครื่อง CPAP2. การรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (RF Bot)การรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุเป็นอีกหนึ่งวิธีในการรักษาภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจ การรักษานี้ใช้คลื่นความถี่วิทยุในการทำให้เนื้อเยื่อบริเวณโคนลิ้น เพดานอ่อน และเนื้อเยื่อในลำคอหดตัวแล้วก็กระชับขึ้น ลดการหย่อนคล้อยที่อาจปิดกั้นทางเดินหายใจวิธีการรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุเป็นวิธีที่ไม่ต้องใช้เวลานาน เพียงครั้งละประมาณ 15 นาที ไม่เจ็บปวดมากเหมือนการผ่าตัด ผลลัพธ์ของการรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุสามารถเห็นได้ชัดเจน มีความคงทนเมื่อเทียบกับวิธีอื่น ๆ ยังเป็นวิธีที่ไม่ต้องพึ่งพาอุปกรณ์ในขณะหลับ3. การบำบัดด้วยกล้ามเนื้อ (Myofunctional Therapy)การบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและลำคอเป็นวิธีการรักษาที่เน้นไปที่การฝึกกล้ามเนื้อบริเวณลิ้น เพดานอ่อน และลำคอ เพื่อให้กล้ามเนื้อเหล่านี้ทำงานได้อย่างถูกต้อง มีความกระชับยิ่งขึ้น การฝึกบำบัดนี้สามารถช่วยลดการหย่อนคล้อยของกล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจและลดอาการนอนกรนได้การบำบัดกล้ามเนื้อนั้นอาจรวมถึงการฝึกกล้ามเนื้อลิ้นให้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ฝึกการหายใจที่ถูกต้อง การออกกำลังกายกล้ามเนื้อเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความแข็งแรง ป้องกันการหย่อนคล้อยของเนื้อเยื่อบริเวณทางเดินหายใจข้อดีของการบำบัดด้วยกล้ามเนื้อ คือ เป็นวิธีที่ไม่ต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ใด ๆ นอกจากนี้ การฝึกฝนสามารถทำได้เองที่บ้านหลังจากได้รับคำแนะนำจากนักบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญ อย่างไรก็ตาม การบำบัดกล้ามเนื้ออาจต้องใช้เวลาและความอดทนในการฝึกฝน แต่ก็เป็นวิธีที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพในระยะยาว รับคำปรึกษา ฟรี! 4. การลดน้ำหนักการมีน้ำหนักตัวที่เกินเกณฑ์เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ เนื่องจากไขมันสะสมบริเวณลำคออาจทำให้ทางเดินหายใจแคบลง การลดน้ำหนักเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดอาการนอนกรนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือน้ำหนักตัวมากนอกจากการลดน้ำหนักจะช่วยลดอาการนอนกรนแล้ว ยังส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวม เช่น ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน การควบคุมน้ำหนักทำได้โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ควรบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย5. การผ่าตัด (Surgical Treatment)ในกรณีที่ภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับมีความรุนแรงและไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ได้ การผ่าตัดอาจเป็นทางเลือกในการรักษาที่มีประสิทธิภาพ การผ่าตัดจะมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงโครงสร้างของทางเดินหายใจ เช่น การตัดเนื้อเยื่อเพดานอ่อน การตัดต่อมทอนซิล ลดขนาดของโคนลิ้น เพื่อเพิ่มความกว้างของทางเดินหายใจและลดการอุดกั้นการผ่าตัดมักเป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางกายภาพ เช่น มีเนื้อเยื่อเพดานอ่อนที่หย่อนคล้อยมากเกินไป มีโครงสร้างทางเดินหายใจที่แคบตั้งแต่กำเนิด อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดมีความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายสูงกว่าวิธีอื่น ๆ แต่อาจมีผลข้างเคียง เช่น การเจ็บคอหรือการอักเสบหลังการผ่าตัด ปรับพฤติกรรมการนอน นอกจากการใช้วิธีการรักษาต่าง ๆ การปรับพฤติกรรมการนอน ก็สามารถช่วยลดอาการนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับได้ เช่นการนอนในท่านอนตะแคง การนอนหงายอาจทำให้ลิ้นและเพดานอ่อนตกไปขัดขวางทางเดินหายใจ การนอนในท่านอนตะแคงสามารถช่วยให้ทางเดินหายใจเปิดกว้างขึ้นและลดอาการนอนกรนการหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอนทำให้กล้ามเนื้อทางเดินหายใจหย่อนคล้อยลง อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ทำให้เกิดการอักเสบและระคายเคืองในทางเดินหายใจ การเลิกบุหรี่สามารถช่วยลดการอักเสบและป้องกันการอุดกั้นทางเดินหายใจ บทสรุป ภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากมันสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว แม้ว่าเครื่อง CPAP จะเป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของราคา ความสะดวกในการใช้งาน หากเครื่อง CPAP มีราคาสูงเกินไปสำหรับผู้ที่ต้องการรักษา ยังมีทางเลือกอื่น ๆ อีกที่สามารถช่วยบรรเทาอาการนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้อุปกรณ์ทางทันตกรรม การรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุ การบำบัดกล้ามเนื้อ แม้แต่การปรับพฤติกรรมการนอนการปรึกษาแพทย์เฉพาะทางและผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับตัวเอง เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะแต่ละคนอาจมีสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการนอนกรนที่แตกต่างกัน การรักษาภาวะนอนกรนไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายแรงและทำให้ชีวิตมีความสุข สุขภาพโดยรวมดีมากขึ้น ปรึกษาปัญหากับแพทย์เฉพาะทาง!

นอนกรนเรื้อรัง_นอนกรนเรื้อรัง รักษายังไงก็ไม่หาย ต้องลองวิธีนี้!

นอนกรนรักษามาตั้งหลายวิธีก็ไม่เห็นผล สุดท้ายก็ยังนอนกรนเสียงดังอยู่ดี ต้องรักษาด้วยวิธีไหนจึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น มาหาคำตอบวิธีการรักษา

ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ เกิดจากอะไรกันนะ

ข้อต่อขากรรไกรอักเสบหรือที่เรียกกันว่า Temporomandibular joint disorder (TMD) เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับข้อต่อขากรรไกร ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างขากรรไกรล่างและฐานของกระโหลกศีรษะ ภาวะนี้ทำให้เกิดอาการปวดขากรรไกร ปวดกราม อาจส่งผลต่อกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับข้อต่อได้สาเหตุของข้อต่อขากรรไกรอักเสบ (TMD)การเกิดข้อต่อขากรรไกรอักเสบนั้นมีหลายสาเหตุร่วมที่ส่งผล ซึ่งบางครั้งไม่สามารถหาสาเหตุที่ชัดเจนได้ แต่อาการมักจะเกิดจากการรวมกันของปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้อาการของข้อต่อขากรรไกรอักเสบอาการที่พบได้บ่อยในผู้ที่มีปัญหาข้อต่อขากรรไกรอักเสบ ได้แก่วิธีรักษาข้อต่อขากรรไกรอักเสบด้วยเครื่องมือ Myosa® หนึ่งในวิธีการรักษาข้อต่อขากรรไกรที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือการใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า Myosa® ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยบรรเทาอาการและลดแรงกระแทกจากข้อต่อขากรรไกร รวมถึงช่วยปรับตำแหน่งของขากรรไกรให้ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดและอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพข้อดีของการรักษาด้วย Myosa®การรักษาด้วย Myosa® มีหลายข้อดีหลายข้อ ที่ทำให้เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่กำลังประสบปัญหาข้อต่อขากรรไกรอักเสบการทำงานของ Myosa®เครื่องมือ Myosa® จะทำงานโดยการลดแรงกระแทกที่เกิดจากข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง เมื่อใส่เครื่องมือนี้เข้าไป จะช่วยป้องกันการนอนกัดฟัน ปวดฟัน รวมถึงลดแรงกระแทกที่ข้อต่อต้องเผชิญในระหว่างการบดเคี้ยว นอกจากนี้ยังช่วยจัดขากรรไกรให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ลดอาการปวดได้ทันทีหลังจากเริ่มใช้ แล้วยังช่วยป้องกันการบาดเจ็บในระยะยาวการใช้งาน Myosa® ในการรักษาเครื่องมือ Myosa® ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในระหว่างการนอนหลับเป็นหลัก ในกรณีที่คนไข้มีปัญหากัดฟันหรือขากรรไกรในระหว่างวัน ก็สามารถใช้เครื่องมือนี้ในช่วงกลางวันได้เหมือนกัน การใส่เครื่องมือ Myosa® ในระหว่างวันจะช่วยลดการทำงานของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวและใบหน้า ทำให้กล้ามเนื้อและข้อต่อขากรรไกรได้รับการบรรเทาและกลับมาทำงานอย่างสมดุลนอกจากนี้ Myosa® ยังเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ โดยการฝึกการบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ ซึ่งจะช่วยให้การรักษาปัญหาข้อต่อขากรรไกรและการนอนกัดฟันมีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากขึ้นสรุปข้อต่อขากรรไกรอักเสบ หรือ TMD เป็นภาวะที่เกิดจากหลายปัจจัย เช่น การนอนกัดฟัน ฟันไม่สบกัน หรือการทำงานที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อขากรรไกร การรักษาด้วยเครื่องมือ Myosa® เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ ช่วยลดแรงกระแทกและอาการปวดได้ดี สามารถใช้ได้ทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืนเพื่อลดอาการและป้องกันการบาดเจ็บในระยะยาวหากคุณหรือคนใกล้ตัวมีอาการปวดขากรรไกร เสียงคลิกขณะอ้าปาก มีปัญหาอาการนอนกัดฟัน ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางและผู้เชี่ยวชาญทันที เพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม

3 วิธีแก้นอนกรนไม่ผ่าตัด ของขวัญสำหรับสุขภาพการนอน

หากจะพูดถึงของขวัญที่ดีที่สุด คงไม่มีอะไรจะดีไปกว่า “สุขภาพร่างกายที่แข็งแรง” โดยเฉพาะคุณภาพการนอนหลับที่ดี

เสี่ยงตาย! รู้ไหม นอนกรนเกิดจาก ร่างกายหายใจไม่ออก

การนอนกรนเป็นอาการที่หลายคนอาจมองข้าม ที่จริงแล้วมันเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาทางสุขภาพที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

เครื่อง BiPAP คืออะไร BiPAP กับ CPAP ต่างกันยังไง

BiPAP และ CPAP เป็นอุปกรณ์ที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (sleep apnea) ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้การหายใจขัดข้องในช่วงนอนหลับ โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัญหาการหายใจอุดกั้น ทั้ง BiPAP และ CPAP เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหานี้ แต่หลายคนอาจสงสัยว่าทั้งสองเครื่องนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร บทความนี้จะอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการทำงานของเครื่อง BiPAP และ CPAP รวมถึงข้อดีข้อเสียของแต่ละเครื่อง เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจและเลือกใช้เครื่องที่เหมาะสมกับตัวเอง ข้อควรรู้ก่อนใช้เครื่อง CPAP CPAP คืออะไร? CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) คือเครื่องช่วยหายใจที่ใช้สำหรับการบำบัดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หลักการของ CPAP คือการสร้างแรงดันอากาศที่คงที่และส่งผ่านท่อเข้าสู่หน้ากากซึ่งครอบไปที่ปากและจมูกของผู้ใช้ แรงดันนี้จะช่วยเปิดทางเดินหายใจและป้องกันไม่ให้เกิดการอุดกั้นระหว่างการนอนหลับ ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจ CPAP จึงเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมในผู้ป่วยที่มีปัญหาการหายใจขณะหลับ หลักการทำงานของ CPAP CPAP ทำงานโดยการสร้างแรงดันอากาศที่คงที่ ส่งผ่านท่ออากาศเข้าสู่หน้ากากที่ครอบปากและจมูก ความดันที่เกิดขึ้นจะช่วยเปิดทางเดินหายใจที่อาจถูกบีบอัดหรืออุดตันในช่วงเวลาที่นอนหลับ แรงดันอากาศนี้จะถูกควบคุมให้คงที่ตลอดคืน ไม่ว่าคนไข้จะหายใจเข้าออกในจังหวะใดก็ตาม สิ่งนี้ทำให้การไหลเวียนของอากาศในระบบทางเดินหายใจเป็นปกติ ช่วยลดความเสี่ยงของการหยุดหายใจขณะหลับอย่างมีประสิทธิภาพ ใครบ้าง? ที่ควรใช้ CPAP CPAP เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) ซึ่งเกิดจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบนในช่วงเวลาที่หลับ นอกจากนี้ยังสามารถใช้กับทารกที่มีปัญหาปอดพัฒนาไม่สมบูรณ์หรือผู้ที่มีภาวะการหายใจไม่เพียงพอระหว่างหลับ CPAP ช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ ทำให้คนไข้รู้สึกสดชื่นและมีพลังงานในช่วงกลางวัน รับคำปรึกษา ฟรี! ขนาดและการพกพาของเครื่อง CPAP เครื่อง CPAP มีหลายขนาดให้เลือก สามารถเลือกตามความเหมาะสมของการใช้งานแต่ละคนได้เลย หากคุณใช้ที่บ้าน ขนาดของเครื่อง CPAP ที่ใหญ่กว่าอาจไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าคุณเป็นคนที่ต้องเดินทางบ่อย การเลือกเครื่อง CPAP ที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาก็เป็นทางเลือกที่ดี เพราะสามารถพกพาไปใช้งานนอกสถานที่ได้สะดวก ข้อควรรู้ก่อนใช้เครื่อง BiPAP BiPAP คืออะไร? BiPAP (Bilevel Positive Airway Pressure) เป็นเครื่องช่วยหายใจที่มีหลักการทำงานคล้ายกับ CPAP แต่มีความแตกต่างสำคัญในเรื่องของการปรับแรงดันอากาศระหว่างการหายใจเข้าและหายใจออก BiPAP ถูกออกแบบมาให้สามารถสร้างแรงดันอากาศที่แตกต่างกันในจังหวะหายใจเข้าและหายใจออก ในขณะที่เครื่อง CPAP ให้แรงดันคงที่ตลอดเวลา การทำงานนี้ทำให้ BiPAP เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการแรงดันอากาศที่แตกต่างกันระหว่างหายใจเข้าและออก หรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระบบการหายใจซับซ้อน เช่น ผู้ป่วยโรคปอดและโรคทางระบบประสาท หลักการทำงานของ BiPAP เครื่อง BiPAP จะทำงานโดยการส่งแรงดันอากาศ 2 ระดับระดับหนึ่งสำหรับการหายใจเข้า (IPAP: Inspiratory Positive Airway Pressure)ระดับสำหรับการหายใจออก (EPAP: Expiratory Positive Airway Pressure)ความแตกต่างของแรงดันนี้ช่วยให้คนไข้ที่มีปัญหาหายใจเข้าและออกได้สะดวกมากขึ้น โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีภาวะระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อบกพร่อง ทำให้การหายใจกลับมาเป็นปกติ ใครควรใช้ BiPAP? BiPAP เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาการหายใจที่ซับซ้อน เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อที่ทำให้การหายใจเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีปัญหาการหายใจแบบซับซ้อนที่ CPAP ไม่สามารถช่วยได้ BiPAP เป็นทางเลือกที่ดีในการช่วยให้การหายใจกลับมาสู่ภาวะปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขนาดและการใช้งานของเครื่อง BiPAP เครื่อง BiPAP มักจะมีขนาดและน้ำหนักใกล้เคียงกับเครื่อง CPAP แต่การออกแบบส่วนใหญ่จะเน้นที่การทำงานเงียบและให้ความสะดวกสบายมากขึ้น นอกจากนี้ หลายรุ่นของ BiPAP ยังมีตัวเพิ่มความชื้นในอากาศที่ส่งผ่านท่อหายใจ เพื่อป้องกันไม่ให้เยื่อเมือกในจมูกแห้ง ทำให้การใช้งานรู้สึกสบายขึ้น ความแตกต่างระหว่าง BiPAP และ CPAP ในขณะที่ CPAP ใช้แรงดันอากาศคงที่ในการช่วยรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ BiPAP มีความสามารถในการปรับแรงดันอากาศสองระดับสำหรับการหายใจเข้าและออก ความแตกต่างนี้ทำให้ BiPAP เหมาะกับคนไข้ที่มีภาวะการหายใจที่ซับซ้อนหรือมีโรคประจำตัวอื่น ๆ เช่น โรคปอดหรือปัญหาทางระบบประสาทนอกจากนี้ เครื่อง BiPAP ยังมีการทำงานที่ซับซ้อนกว่าซึ่งส่งผลให้ ราคาของ BiPAP มักจะสูงกว่า CPAP อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่มีปัญหาการหายใจรุนแรง ที่ไม่สามารถปรับตัวกับการใช้ CPAP ได้ BiPAP จะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า เนื่องจากช่วยให้หายใจได้สะดวกและเป็นธรรมชาติมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงหายใจออกที่ BiPAP จะใช้แรงดันที่น้อยกว่าในช่วงหายใจเข้า สรุป CPAP และ BiPAP ต่างก็เป็นเครื่องช่วยหายใจที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) ทั้งสองมีหลักการทำงานที่คล้ายกัน แต่มีข้อแตกต่างหลักในเรื่องของแรงดันอากาศที่ใช้ระหว่างการหายใจเข้าและออก CPAP ให้แรงดันคงที่ตลอดเวลา ในขณะที่ BiPAP สามารถปรับแรงดันอากาศตามความต้องการของผู้ป่วยได้BiPAP เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาการหายใจที่ซับซ้อน หรือมีภาวะทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ส่วน CPAP เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับทั่วไป การเลือกใช้เครื่องใดเครื่องหนึ่งควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้การรักษาที่ตรงกับความต้องการของผู้ป่วย การเลือกเครื่องที่เหมาะสมจะช่วยให้คุณภาพการนอนหลับดีขึ้นและลดความเสี่ยงที่เกิดจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Why choose VitalSleep and Wellness
ตรวจคุณภาพการนอนหลับได้จากที่บ้าน

ตรวจการหลับ Sleep Test ที่ VitalSleep and Wellness สะดวก ง่าย ไม่ต้องเดิน ทาง มีเจ้าหน้าที่เดินทางไปติดตั้ง ให้ถึงที่บ้าน อ่านผลการตรวจ โดยแพทย์เฉพาะทาง Dental Sleep Medicine

ลดเสียงกรนด้วยวิธีการที่หลากหลาย

ที่ VitalSleep and Wellness นําเสนอแนวทางการรักษานอนกรน ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ออกแบบ เฉพาะบุคคล รักษาได้ทั้ง แบบไม่ผ่าตัด และแบบผ่าตัด และการรักษาครอบคลุมไปถึงการรักษาอาการนอน กัดฟัน และข้อต่อขากรรไกรอักเสบ

ค้นหา และรักษานอนกรน ที่ต้นเหตุ

เน้นการตรวจเชิงลึกหลายแนวทาง เพื่อค้นหาและวินิจฉัยสาเหตุการรักษาที่แท้จริง มุ่งเน้นรักษาและบําบัดสาเหตุของการกรนที่ต้นเหตุ คือ กล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น ด้วย Myofunctional Therapy

แนวทางการรักษาแบบองค์รวม ผสมผสาน

นําเสนอการรักษาที่หลากหลาย ออกแบบเฉพาะบุคล เน้นการรักษาแบบผสมผสาน การรักษาหลายอย่าง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ครอบคลุมทุกความแตกต่างของแต่ละบุคคล

ทพ. ดร. อมรพงษ์ วชิรมน

Medical Director
แพทย์เฉพาะทางรักษานอนกรน

VitalSleep and Wellness
ดูแลโดย แพทย์เฉพาะทาง และนักกายภาพบําบัดวิชาชีพ
  • Polysomnography - Sleep Test ตรวจการนอนหลับ
  • เครื่องมือทันตกรรม รักษานอนกรน
  • เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก รักษานอนกรน
  • รักษาอาการ นอนกัดฟัน
  • รักษาอาการ ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ ขากรรไกรมีเสียงคลิก
  • บำบัดกล้ามเนื้อใบหน้า และทางเดินหายใจส่วนต้น
  • ผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร รักษานอนกรน
…and much more!

Promotion Sleep Test

ตรวจคุณภาพการนอนหลับ

สะดวก ง่าย ทำได้จากที่บ้าน

แพทย์เฉพาะทางอ่านผล

พิเศษ 6,900 บาท

(ปกติ 10,000 บาท)