Skip to content
  • อาคารพญาไท พลาซ่า
  • ชั้น 33 ติด BTS
  • สถานี พญาไท ทางออกที่ 1
  • อาคารพญาไท พลาซ่า
  • ชั้น 33 ติด BTS
  • สถานี พญาไท ทางออกที่ 1
Sleep Test มีกี่แบบ
และควรเลือกตรวจแบบไหน?

Sleep Test มีกี่แบบ

และควรเลือกตรวจแบบไหน?
Table of Contents

Sleep Test มีกี่แบบ และควรเลือกตรวจแบบไหน?

การตรวจการนอนหลับ หรือ Sleep test เป็นการตรวจทดสอบเพื่อประเมินสภาพการนอนของเรา ตรวจหาปัญหาการนอนหลับและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โดยการทดสอบนี้มีหลายแบบ แบ่งตามมาตรฐานของสมาคมเวชศาสตร์การนอนหลับแห่งสหรัฐอเมริกา (AASM) แต่ละแบบมีความซับซ้อนและวิธีการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของผู้ป่วย

รูปแบบการตรวจ Sleep Test

ระดับที่ 1 การทดสอบแบบสมบูรณ์โดยมีเจ้าหน้าที่เฝ้าตลอดคืน

การตรวจนี้เป็นการทดสอบการนอนหลับที่ละเอียดและสมบูรณ์ที่สุด โดยมีการวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง, คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ, การเคลื่อนไหวของลูกตาและใต้คาง, คลื่นไฟฟ้าหัวใจ, การวัดระดับออกซิเจนในเลือด และการตรวจวัดลมหายใจ ขณะทดสอบมีเจ้าหน้าที่คอยเฝ้าดูตลอดทั้งคืน มักจะทำในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่มีห้องตรวจเฉพาะ การตรวจในระดับนี้มีความละเอียดและแม่นยำมาก เหมาะสำหรับคนที่มีอาการนอนหลับผิดปกติอย่างรุนแรง

ระดับที่ 2 การทดสอบแบบสมบูรณ์โดยไม่มีเจ้าหน้าที่เฝ้า

การทดสอบในระดับนี้จะคล้ายกับระดับที่ 1 ในเรื่องความละเอียดในของการวัดข้อมูล แต่จะไม่มีเจ้าหน้าที่เฝ้าตลอดคืน สามารถทำการตรวจที่บ้านได้ โดยเจ้าหน้าที่จะมาติดตั้งอุปกรณ์ในตอนเย็นแล้วปล่อยให้ทดสอบเองในสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคย ลดความเครียดและความวิตกกังวลได้

ข้อดี ของการทดสอบระดับที่ 2 นี้คือ ค่าใช้จ่ายจะน้อยกว่าการตรวจในโรงพยาบาล ไม่ต้องเดินทางหรือเสียเวลารอคิวตรวจเป็นเวลานาน

ระดับที่ 3 การทดสอบแบบจำกัดข้อมูล

จะมีความละเอียดน้อยกว่าระดับที่ 1 และ 2 โดยวัดเพียงข้อมูลพื้นฐาน เช่น การวัดการหายใจ การเคลื่อนไหวของหน้าอกและท้อง การวัดระดับออกซิเจนในเลือด และการตรวจวัดเสียงกรน ในบางครั้งอาจมีการวัดคลื่นหัวใจร่วมด้วย จะเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการไม่ซับซ้อนหรือแค่นอนกรนอย่างเดียว เพราะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า แต่มีข้อเสียคือ ไม่สามารถประเมินประสิทธิภาพการนอนหลับได้เต็มที่ เนื่องจากไม่ได้วัดคลื่นสมอง อาจไม่ได้รับข้อมูลที่แม่นยำเท่ากับการตรวจระดับที่ 1 และ 2

ระดับที่ 4 การทดสอบวัดออกซิเจนในเลือดและลมหายใจ

เป็นการตรวจการนอนหลับที่พื้นฐานที่สุด วัดเพียงออกซิเจนในเลือดหรือลมหายใจขณะหลับ ข้อมูลที่ได้รับจากการตรวจนี้มีจำกัดไม่เพียงพอในการวินิจฉัยอาการนอนกรนหรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้อย่างแม่นยำ

อ่านเพิ่มเติม

วิธีการเลือก... ตรวจการนอนหลับ ที่เหมาะสม

วิธีการเลือกการตรวจที่เหมาะสม

การเลือกวิธีการตรวจที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของปัญหาการนอนหลับของแต่ละคน สำหรับคนที่มีอาการนอนกรนธรรมดา การตรวจในระดับที่ 3 อาจเพียงพอ แต่หากสงสัยว่าตัวเองมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับด้วยไหม ควรพิจารณาการตรวจระดับที่ 1 หรือ 2 ที่มีความละเอียดสูงกว่า สำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวกสบาย การเลือกตรวจที่บ้านในระดับที่ 2 เป็นตัวเลือกที่ดี เพราะสามารถทำในสิ่งแวดล้อมที่คุ้นเคยโดยไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่เฝ้า

ทาง VitalSleep Clinic มีให้บริการการตรวจการนอนหลับทั้งระดับที่ 1 และ 2 ซึ่งสามารถทำการตรวจที่บ้านของผู้รับการตรวจได้ โดยให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำและสะดวกสบายมากขึ้น

ขั้นตอนการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) ระดับ 1 และ 2

  1. เริ่มต้นการทดสอบ
    จะเริ่มในช่วงหัวค่ำ ประมาณ 00 น. หรือตามเวลาที่เหมาะสมของผู้รับการตรวจ เจ้าหน้าที่จะทำการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการนอนหลับ กรอกเอกสารความยินยอม หลังจากนั้นจะอธิบายถึงการใช้อุปกรณ์และวิธีการปฏิบัติตัวระหว่างการตรวจ
  2. การใช้ CPAP สำหรับผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจรุนแรง
    หากพบว่าผู้รับการตรวจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับระดับรุนแรง เจ้าหน้าที่จะทำการทดลองใส่หน้ากาก CPAP เพื่อช่วยในการรักษาในคืนที่ตรวจเลย เมื่อผู้รับการทดสอบการนอนหลับพร้อมที่จะเข้านอน
  3. การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัด
    เจ้าหน้าที่จะทำการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สายวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง, คลื่นกล้ามเนื้อ, การเคลื่อนไหวของลูกตา ตรวจวัดคลื่นหัวใจ นอกจากนี้ยังมีการวัดลมหายใจและการตรวจวัดออกซิเจนในเลือด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมมากที่สุด
  4. การตรวจวัดระบบหายใจ
    ผู้รับการตรวจจะได้รับการวัดการหายใจโดยมีสายวัดติดบริเวณจมูก สายรัดที่หน้าอกและท้อง รวมถึงการวัดระดับออกซิเจนที่ปลายนิ้ว ในบางกรณีอาจมีการบันทึกภาพจากกล้องวงจรปิดเพิ่มเติม ตามความจำเป็น
  5. การทดสอบตลอดคืน
    สำหรับการตรวจระดับที่ 1 จะมีเจ้าหน้าที่เฝ้าดูในห้องควบคุมเพื่อติดตามการนอนตลอดคืน ในขณะที่การตรวจระดับที่ 2 จะไม่มีเจ้าหน้าที่เฝ้า แต่ผู้รับการตรวจจะนอนหลับอย่างต่อเนื่องตามปกติ
คำแนะนำ...เตรียมตัวก่อนตรวจ Sleep Test

คำแนะนำในการเตรียมตัวก่อนการตรวจ

  • สวมเสื้อผ้าที่สบายเหมือนชุดที่ใส่นอนตามปกติทุกคืน
  • หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ ชา และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันที่ตรวจ
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักในช่วงบ่ายในวันที่ตรวจ
  • แจ้งเจ้าหน้าที่หากคุณมีการใช้ยารักษาโรคประจำตัว

หลังจากการตรวจเสร็จสิ้นในช่วงเช้า ผู้รับการตรวจสามารถกลับบ้านได้ตามปกติ เจ้าหน้าที่จะนำข้อมูลที่ได้รับไปวิเคราะห์โดยแพทย์เฉพาะทางเพื่อให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ

ตรวจการนอนหลับที่บ้านกับ VitalSleep Clinic สะดวก ปลอดภัย แม่นยำ

หากคุณมีปัญหานอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ หรือนอนแล้วไม่สดชื่น การตรวจการนอนหลับที่บ้าน (Home Sleep Test) คือทางเลือกที่สะดวกและง่ายที่สุด!

  • ไม่ต้องเดินทาง
    อยู่ที่ไหนก็ตรวจได้ แม้คุณจะอยู่ต่างจังหวัด
  • ใช้งานง่าย
    อุปกรณ์ขนาดกะทัดรัด แค่ติดตั้งก่อนนอน
  • ผลแม่นยำ
    วิเคราะห์โดยแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลัง
  • รู้ผลไว
    พร้อมให้คำแนะนำแนวทางการรักษา

ที่ Vital Sleep Clinic เรามุ่งเน้นการให้บริการตรวจสุขภาพการนอนหลับที่บ้าน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำใกล้เคียงกับสภาวะการนอนหลับในชีวิตจริง นอกจากนี้เรายังมีทีมแพทย์และเจ้าหน้าที่เฉพาะทางที่พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลในทุกขั้นตอน

อ่านเพิ่มเติม

สรุป

การตรวจการนอนหลับ Sleep Test หรือการตรวจสุขภาพการนอนหลับมีทั้งหมด 4 ระดับ ซึ่งแต่ละระดับมีความซับซ้อนและวิธีการตรวจที่แตกต่างกันออกไป การเลือกวิธีการตรวจที่เหมาะสมกับคุณ ขึ้นอยู่กับลักษณะอาการและความจำเป็นของผู้ป่วย โดยการตรวจระดับที่ 1 และ 2 เป็นการตรวจที่ละเอียดและได้ข้อมูลที่ครอบคลุมที่สุด เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการนอนหลับผิดปกติรุนแรง ในขณะที่การตรวจระดับที่ 3 และ 4 เป็นการตรวจที่จำกัดข้อมูลมากกว่า เหมาะกับผู้ที่มีอาการน้อยหรือไม่ซับซ้อน

การเลือกสถานที่ตรวจการนอนหลับ Sleep Test เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ควรคำนึงถึง หากคุณต้องการความสะดวกสบายและต้องการผลลัพธ์ที่แม่นยำ การเลือกทำ Sleep Test ที่บ้านเป็นทางเลือกที่ดี การนอนหลับในสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคยช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น สะดวกในการเข้ารับการตรวจ

ที่ Vital Sleep Clinic เราให้บริการตรวจสุขภาพการนอนหลับที่บ้านของคนที่อยากตรวจ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำและใกล้เคียงกับการนอนในชีวิตประจำวัน หากคุณสนใจอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมหรือรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการตรวจการนอนหลับ สามารถติดต่อเราได้ เรายินดีให้บริการและคำแนะนำที่เหมาะสมแก่คุณ

Related Blogs and Articles
หลับ ๆ ตื่น ๆ นอนไม่พอ เราขอแนะนำตรวจ Sleep Test

การนอนหลับที่มีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากคุณหลับ ๆ ตื่น ๆ หรือนอนไม่พอ ส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ

นอนกรนเรื้อรัง_นอนกรนเรื้อรัง รักษายังไงก็ไม่หาย ต้องลองวิธีนี้!

นอนกรนรักษามาตั้งหลายวิธีก็ไม่เห็นผล สุดท้ายก็ยังนอนกรนเสียงดังอยู่ดี ต้องรักษาด้วยวิธีไหนจึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น มาหาคำตอบวิธีการรักษา

แก้นอนกรน ด้วย Myofunctional Therapy

การนอนกรน เป็นปัญหาการนอนที่พบได้บ่อยและส่งผลต่อทั้งคนที่นอนกรนและคนรอบข้าง แม้ว่าจะมีวิธีการรักษานอนกรนหลายรูปแบบ แต่ Myofunctional Therapy

แก้นอนกัดฟันด้วยยางกัดฟัน

นอนกัดฟันคืออะไร?การนอนกัดฟัน หรือ Sleep Bruxism เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าตัวเองมีพฤติกรรมนอนกัดฟัน เพราะมักเกิดขึ้นในขณะที่กำลังนอนหลับและตอนที่ไม่รู้ตัว อาจเป็นเพียงพฤติกรรมที่ไม่ได้ส่งผลเสียใหญ่โตมากนัก แต่อสามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพหลายอย่าง เช่น ฟันสึกกร่อน ปวดข้อขากรรไกร และอาจมีผลเสียต่อเนื้อเยื่อกระดูกและเหงือกหากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสมสาเหตุของการนอนกัดฟันถึงแม้ว่าจะไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดว่านอนกัดฟันเกิดจากอะไร แต่ก็สามารถคาดเดาเอาได้จากหลายปัจจัยที่อาจเกี่ยวข้องที่พบได้บ่อย คือความเครียดและความวิตกกังวล เป็นสิ่งที่หลายคนกำลังเจออยู่ในชีวิตประจำวัน เวลาที่เราเครียดหรือวิตกกังวล อาจกัดฟันหรือกดดันฟันในช่วงเวลาเราที่ไม่รู้ตัวในระหว่างการนอนหลับ ปัจจัยอื่น ๆ เช่น ปัญหาฟันซ้อนเก ความผิดปกติทางโครงสร้างฟัน ก็อาจทำให้เกิดพฤติกรรมนี้ได้ขอบคุณข้อมูลจากการรักษานอนกัดฟันที่ VitalSleep Clinicปัจจุบันมีวิธีการรักษานอนกัดฟันหลายวิธี คนไข้สามารถปรึกษาทันตแพทย์ แพทย์เฉพาะทาง หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมสำหรับตัวเอง การรักษาสามารถทำได้ตั้งแต่การใช้เครื่องมือทันตกรรม เช่น การใช้ยางกัดฟันหรือเฝือกฟัน (Splint) สำหรับคนที่สงสัยว่าตัวเองกำลังมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วยกับการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) จะช่วยวินิจฉัยและให้แนวทางการรักษาที่ตรงจุดมากขึ้นวิธีการเก็บรักษายางกัดฟันยางกัดฟันเหมาะกับใครบ้าง?การใช้ยางกัดฟันเหมาะกับผู้ที่มีพฤติกรรมนอนกัดฟันที่เรื้อรัง คนที่มีอาการเจ็บปวดฟันหรือขากรรไกรเมื่อตอนตื่นนอน โดยเฉพาะคนที่มีเสียงกัดฟันดังหรือรบกวนคนที่นอนข้าง ๆ อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่มีอาการรุนแรง เช่น ฟันสึกมากเกินไป ปวดขากรรไกรอย่างต่อเนื่อง หรือสงสัยว่ามีภาวะอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การหยุดหายใจขณะหลับ ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับคำแนะนำการรักษาเพิ่มเติมที่ VitalSleep Clinic เรามีการรักษานอนกัดฟันด้วย “ยางกัดฟันเฉพาะบุคคล” ที่ถูกออกแบบให้เหมาะสมกับรูปฟันของแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ ต่างจากยางกัดฟันทั่วไปที่อาจไม่พอดีกับช่องปาก ยางกัดฟันของเราผลิตจากวัสดุคุณภาพสูง มีความยืดหยุ่นและทนทาน สามารถช่วยลดแรงกดบนฟัน ลดอาการปวดกราม และป้องกันไม่ให้ฟันสึกจากการกัดฟันระหว่างนอนหลับข้อดีของยางกัดฟันที่ VitalSleep Clinicอ่านเพิ่มเติม:สรุปการนอนกัดฟันเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปแต่สามารถแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้ยางกัดฟัน (Splint) อุปกรณ์นี้ช่วยป้องกันไม่ให้ฟันถูกทำลายจากการกัดฟันขณะหลับ ช่วยลดความเจ็บปวดและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับฟันและขากรรไกร การใช้ยางกัดฟันเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก แต่อย่างไรก็ตาม หากคุณมีอาการนอนกัดฟันที่รุนแรง ควรเข้ามาพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม

World Sleep Day 2025

World Sleep Day หรือ วันนอนหลับโลก เกิดขึ้นภายใต้สมาคมการแพทย์เพื่อการนอนหลับโลก (World Association of Sleep Medicine: WASM) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการนอนหลับที่มีคุณภาพ และตระหนักรู้ถึงความอันตรายของปัญหาการนอนหลับ เป็นการสื่อสารไปสู่ผู้คนในวงกว้างด้วยความพยายามที่จะป้องกันและบรรเทาปัญหาการนอนของคนทั้งโลก และรณรงค์ให้ผู้คนเห็นความสำคัญของการหลับที่มีคุณภาพ ถูกจัดขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2551 หลังจากนั้นมีการจัดกิจกรรมขึ้นเป็นประจำทุกปี ขณะนี้มีประเทศที่เข้าร่วมกิจกรรม วันนอนหลับโลก แล้วมากกว่า 67 ประเทศทั่วโลก เปิดสถิติ คนไทยประสบปัญหาการนอนหนัก การนอนหลับ คือการพักผ่อนที่ดีที่สุดของการฟื้นฟูร่างกาย แท้จริงแล้ว การนอนหลับไม่ใช่เพียงแค่เป็นการพักผ่อนอย่างเดียวเท่านั้น มนุษย์ใช้เวลามากถึง 1 ใน 3 ของชีวิตไปกับการนอน เพื่อเติมพลังให้ชีวิตสามารถใช้ชีวิตอีก 2 ใน 3 ที่เหลือ การนอนหลับที่มีคุณภาพ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากของชีวิตมนุษย์ เพราะสุขภาพที่ดี เริ่มต้นที่การนอนหลับที่มีคุณภาพ ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า คนไทยมากมึง 19 ล้านคน กำลังประสบปัญหาการนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพ เช่น การนอนหลับไม่สนิท หลับ ๆ ตื่น ๆ ตื่นกลางดึกบ่อยเพื่อเข้าห้องน้ำ นอนกรน หรือรุนแรงถึงหยุดหายใจขณะนอนหลับ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะพบปัญหาเหล่านี้ได้ในคนอายุน้อยลงมากขึ้น การนอนหลับที่มีคุณภาพ เป็นอย่างไร การนอนหลับที่มีคุณภาพ หรือ การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนชั่วโมงในการนอนหลับเพียงอย่างเดียว ความลึกของการนอนหลับกับเวลาเข้านอนที่เหมาะสมก็มีความสำคัญอย่างมาก หากหลับลึกไม่พอ หรือความผิดปกติระหว่างการนอนบางอย่าง อาจทำให้รู้สึกไม่สดชื่นหลังตื่นนอนในช่วงเช้า (Unrested Sleep) อาจส่งผลกระทบกับระบบความจำ ทำให้ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่และมีประสิทธิภาพ กระทบการเรียน การทำงาน การใช้ชีวิตประจำวัน โดยทั่วไป ระยะเวลาที่เหมาะสมในการนอนแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่สามารถอ้างอิงเวลาการนอนที่เหมาะสมสำหรับแต่ล่วงวัยได้ ดังนี้ เด็กแรกเกิด (อายุ 0-3 เดือน) = 14-17 ชั่วโมงต่อวัน เด็กทารก (อายุ 4-11 เดือน) = 12-15 ชั่วโมงต่อวัน เด็กเล็ก (อายุ 1-2 ปี) = 11-14 ชั่วโมงต่อวัน วัยอนุบาล (3-5 ปี) = 10-13 ชั่วโมงต่อวัน วัยประถม (6-13 ปี) = 9-11 ชั่วโมงต่อวัน วัยมัธยม (14-17 ปี) = 8-10 ชั่วโมงต่อวัน วัยรุ่น (18-25 ปี) = 7-9 ชั่วโมงต่อวัน วัยทำงาน (26-64 ปี) = 7-9 ชั่วโมงต่อวัน วัยชรา (65 ปีขึ้นไป) = 7-8 ชั่วโมงต่อวัน เช็คลิสต์ อาการนอนหลับผิดปกติ ตื่นมาปัสสาวะบ่อยกลางดึก (Nocturnal Urination)อาจเป็นการตอบสนองของร่างกาย เกิดจากหัวใจสูบฉีดเลือดเพิ่มมากขึ้นหลังเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Bradycardia-tachycardia) เลือดไปเลี้ยงที่ไตเพิ่มขึ้น มีผลทำให้มีน้ำปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะมากขึ้นขณะนอนหลับ ในขณะเดียวกันภาวะหยุดหายใจขณะหลับทำให้นอนหลับไม่ค่อยลึก จึงทำให้สามารถรับรู้ถึงความรู้สึกปวดปัสสาวะได้ง่ายมีอาการง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวัน (Excessive Daytime Sleepiness)เป็นความผิดปกติที่ต้องรีบหาสาเหตุและรักษา อาจะส่งผลอันตรายในขณะขับขี่ยานพาหนะ หรือเกิดอุบัติเหตุได้ในขณะปฏิบัติงาน และอาจนำไปสู่โรคเกี่ยวกับการนอนอื่น ๆ เช่น หยุดหายใจขณะหลับ ไหลตาย Insomnia หรือ Narcolepsy และอื่นๆขาขยุกขยิก (Restless Legs)เป็นอาการที่ทำให้ต้องขยับขาไปมา เพราะรู้สึกมีความผิดปกติที่บริเวณขา จึงต้องขยับบ่อย ๆ เพื่อทำให้ความรู้สึกผิดปกติที่ขาลดลง อาการนี้มักพบได้ในช่วงเวลาค่ำ อาจพบในรายที่มีอาการโลหิตจาง (Iron deficiency) ในช่วงขณะตั้งครรภ์ (pregnancy) คนไข้โรคไตวาย (chronic renal failure) และโรคอื่น ๆปวดศีรษะหลังเพิ่งตื่นนอนตอนเช้า (Morning Headache)อาจเป็นผลมาจากที่ขณะนอนหลับไม่สามารถขับถ่าย Carbon Dioxide ออกจากร่างกายได้อย่างเหมาะสม มีผลทำให้เส้นเลือดแดงในสมองขยายตัวจาก Respiratory Acidosis จึงทำให้รู้สึกปวดศีรษะ และอาการนี้จะรุ้สึกได้มากในช่วงเวลาเช้าหลังเพิ่งตื่นนอนนอนกรน (Snoring)มีเสียงหายใจดังมาก หรือ เสียงกรนดังขณะนอนหลับ ส่งผลกระทบทั้งสุขภาพของตนเอง และอาจะส่งผลกระทบกับความสัมพันธ์ในครอบครัวได้ด้วย เป็นอาการอันตราย ต้องรีบหาสาเหตุและรักษาอย่างเหมาะสม หากปล่อยไว้ไม่รักษาจะมีผลกระทบต่อสุขภาพระยะยาว เช่น Cardiovascular Problems Metabolic Syndrome ความจำเสื่อม ความดันสูง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และอื่น ๆหยุดหายใจในขณะนอนหลับ (Sleep Apnea)เป็นอาการผิดปกติของการนอนกลับที่อันตรายรุนแรง อาจส่งผลร้ายแรงถึงเสียชีวิตได้ โรคหยุดหายใจขณะหลับอาจสังเกตได้อย่างหากไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น สำลักขณะนอนหลับ (Waking up Choking) ตื่นขึ้นมากลางดึกอย่างกะทันหันเพื่อหายใจ (Waking up Gasping) Cognitive Dysfunctionsนอนไม่เพียงพอหรือมีปัญหาเรื่องการนอนหลับอาจมีผลต่อหน้าที่การทำงานของสมอง รวมทั้งความทรงจำทั้งในระยะสั้น และในระยะยาวถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที การนอนหลับ ตรวจคุณภาพได้ Sleep Test (Polysomnography) หรือ การตรวจคุณภาพการนอนหลับ คือ การตรวจวัดคลื่นสมอง ระดับออกซิเจนในเลือด อัตราการเต้นของหัวใจ และการหายใจระหว่างการนอนหลับ นอกจากนั้นยังตรวจจับการเคลื่อนไหวของดวงตาและการเคลื่อนไหวร่างกายบางส่วน เพื่อตรวจดูคุณภาพการนอนหลับ ค้นหาความผิดปกติของการนอน หรือ โรคที่เกี่ยวเนื่องกับการนอนบางอย่าง อาการนอนกรน หรือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นสาเหตุของโรคร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ โรค สมองเสื่อม...

ตรวจการนอนหลับ Sleep Test ราคาประหยัด ตรวจได้แม้งบน้อย

การตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เป็นวิธีการที่สำคัญในการวิเคราะห์ความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในขณะที่กำลังนอนหลับ เกี่ยวข้องกับระบบการทำงานของร่างกายหลาย ๆ ด้าน

สะดุ้งตื่นกลางดึกบ่อย อย่านิ่งนอนใจ

การนอนสะดุ้งตื่นกลางดึกแม้จะเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปและไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตโดยตรง แต่หากเกิดขึ้นบ่อย ๆ อาจส่งผลต่อสุขภาพการนอนหลับ

เครื่องช่วยหายใจนอนกรน เเก้ไขอาการกรน คืออะไร

หลาย ๆ คนอาจเคยได้ยินถึงวิธีการรักษาอาการนอนกรนที่มีหลากหลายรูปแบบ ในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงเครื่องช่วยหายใจสำหรับคนนอนกรน

Why choose VitalSleep and Wellness
ตรวจคุณภาพการนอนหลับได้จากที่บ้าน

ตรวจการหลับ Sleep Test ที่ VitalSleep and Wellness สะดวก ง่าย ไม่ต้องเดิน ทาง มีเจ้าหน้าที่เดินทางไปติดตั้ง ให้ถึงที่บ้าน อ่านผลการตรวจ โดยแพทย์เฉพาะทาง Dental Sleep Medicine

ลดเสียงกรนด้วยวิธีการที่หลากหลาย

ที่ VitalSleep and Wellness นําเสนอแนวทางการรักษานอนกรน ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ออกแบบ เฉพาะบุคคล รักษาได้ทั้ง แบบไม่ผ่าตัด และแบบผ่าตัด และการรักษาครอบคลุมไปถึงการรักษาอาการนอน กัดฟัน และข้อต่อขากรรไกรอักเสบ

ค้นหา และรักษานอนกรน ที่ต้นเหตุ

เน้นการตรวจเชิงลึกหลายแนวทาง เพื่อค้นหาและวินิจฉัยสาเหตุการรักษาที่แท้จริง มุ่งเน้นรักษาและบําบัดสาเหตุของการกรนที่ต้นเหตุ คือ กล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น ด้วย Myofunctional Therapy

แนวทางการรักษาแบบองค์รวม ผสมผสาน

นําเสนอการรักษาที่หลากหลาย ออกแบบเฉพาะบุคล เน้นการรักษาแบบผสมผสาน การรักษาหลายอย่าง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ครอบคลุมทุกความแตกต่างของแต่ละบุคคล

ทพ. ดร. อมรพงษ์ วชิรมน

Medical Director
แพทย์เฉพาะทางรักษานอนกรน

VitalSleep and Wellness
ดูแลโดย แพทย์เฉพาะทาง และนักกายภาพบําบัดวิชาชีพ
  • Polysomnography - Sleep Test ตรวจการนอนหลับ
  • เครื่องมือทันตกรรม รักษานอนกรน
  • เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก รักษานอนกรน
  • รักษาอาการ นอนกัดฟัน
  • รักษาอาการ ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ ขากรรไกรมีเสียงคลิก
  • บำบัดกล้ามเนื้อใบหน้า และทางเดินหายใจส่วนต้น
  • ผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร รักษานอนกรน
…and much more!

Promotion Sleep Test

ตรวจคุณภาพการนอนหลับ

สะดวก ง่าย ทำได้จากที่บ้าน

แพทย์เฉพาะทางอ่านผล

พิเศษ 6,900 บาท

(ปกติ 10,000 บาท)