ควบคุมน้ำหนัก ลดปัญหานอนกรน
หากคุณกำลังมีกับปัญหาการนอนกรน การลดน้ำหนักอาจเป็นวิธีที่ได้ผลอย่างไม่น่าเชื่อสำหรับการลดอาการนอนกรน เมื่อมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน เนื้อเยื่อส่วนเกินบริเวณรอบคอและช่องทางเดินหายใจสามารถทำให้เกิดการอุดกั้นการหายใจขณะหลับ ทำให้เกิดอาการนอนกรน การลดน้ำหนักไม่เพียงช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดีขึ้น แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
ความเชื่อมโยงระหว่างน้ำหนักเกินและอาการนอนกรน
การที่มีไขมันสะสมในบริเวณคอหรือเหนียงมากเกินไป ทำให้ช่องทางเดินหายใจแคบลง ส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อในบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น เมื่อคุณนอนหลับ กล้ามเนื้อจะผ่อนคลายและทำให้ทางเดินหายใจที่แคบอยู่แล้วอาจปิดลงได้ง่ายขึ้น ทำให้เกิดอาการกรนหรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ดังนั้น การลดน้ำหนักจะช่วยลดปริมาณเนื้อเยื่อรอบทางเดินหายใจ ช่วยให้หายใจสะดวกขึ้นและนอนกรนน้อยลง
ประโยชน์ของการลดน้ำหนักต่อการนอนกรน
- การหายใจที่คล่องตัวขึ้น
เมื่อคุณลดน้ำหนัก แรงดันในช่องทางเดินหายใจก็จะลดลงด้วย ทำให้สามารถหายใจได้สะดวกขึ้นในระหว่างการนอนหลับ
- ลดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
การลดน้ำหนักช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
- คุณภาพการนอนที่ดีขึ้น
การนอนที่ไม่ถูกขัดจังหวะด้วยการกรนจะช่วยให้คุณตื่นมาพร้อมความสดชื่น มีพลัง และมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น
การลดน้ำหนักร่วมกับการรักษาอื่น ๆ
ที่ VitalSleep Clinic เราเชื่อว่าการลดน้ำหนักเป็นส่วนสำคัญในการรักษาอาการนอนกรน เข้าใจดีว่าแต่ละคนมีเงื่อนไขสุขภาพที่แตกต่างกัน เราจึงมีบริการรักษาอื่น ๆ เช่น เครื่อง CPAP, BiPAP, Oral Appliance และ iNAP ที่สามารถทำงานร่วมกับการลดน้ำหนักเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด
รักษาปัญหานอนกรนและการนอนต่าง ๆ ที่ VitalSleep Clinic
- ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ คลินิกของเรามีทีมแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญและได้รับการรับรองจากสถาบันนานาชาติ มีใบรับรองแพทย์เฉพาะทาง เกี่ยวกับกล้ามเนื้อทางใบหน้าที่ผิดปกติ เช่นช่องปากและลิ้น เป็นต้น
- เทคโนโลยีที่ทันสมัย VitalSleep Clinic มีเทคโนโลยีในการรักษาที่ทันสมัย ทั้งแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด นอกจากนี้ยังมีการบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ Myofunction Therapy และอุปกรณ์ทันตกรรมที่ลดปัญหาการกัดฟันและข้อต่อขากรรไกรอักเสบ
- แผนการรักษาเฉพาะบุคคล ที่จะออกแบบแผนการรักษาให้เหมาะสมกับความต้องการและปัญหาของผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด