Myofunctional Therapy ในการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับของ VitalSleep Clinic
ที่ Vital Sleep Clinic เราตั้งใจเสนอวิธีการรักษาที่ครอบคลุมเพื่อช่วยให้ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) ได้รับการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล หนึ่งในวิธีการที่อยากนำเสนอ คือ Myofunctional Therapy หรือ การบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและกล้ามเนื้อทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นการฝึกกล้ามเนื้อในช่องปาก ลิ้น และทางเดินหายใจ เพื่อช่วยลดอาการภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้
Myofunctional Therapy คืออะไร?
Myofunctional Therapy เป็นการบำบัดที่เน้นการฝึกและเสริมสร้างกล้ามเนื้อในปากและลำคอ ซึ่งกล้ามเนื้อเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการหายใจในระหว่างการนอนหลับ หากกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือทำงานผิดปกติ อาจเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจได้ Myofunctional Therapy จึงเป็นวิธีการรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัดและปลอดภัย ช่วยแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุของอาการภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
Myofunctional Therapy ช่วยรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้อย่างไร?
ในคนไข้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ กล้ามเนื้อที่ควบคุมลิ้นมักจะอ่อนแรง ร่วมกับปัญหาโครงหน้าขากรรไกรเดิมที่อาจจะคางสั้น ทำให้ลิ้นตกลงไปปิดกั้นทางเดินหายใจในขณะหลับ Myofunctional Therapy จะช่วยแก้ไขปัญหานี้ด้วยการฝึกท่าทางเฉพาะ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและปรับท่าทางการหายใจ ส่งผลให้ทางเดินหายใจเปิดโล่งมากขึ้น ลดโอกาสที่ทางเดินหายใจจะถูกปิดกั้นในช่วงที่หลับลึก
- เสริมสร้างกล้ามเนื้อที่ควบคุมการหายใจ
การฝึกกล้ามเนื้อด้วยท่าบริหารเฉพาะใน Myofunctional Therapy มุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณลิ้น คอหอย และใบหน้าที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ ช่วยให้กล้ามเนื้อทำงานได้ดีขึ้น ทางเดินหายใจเปิดโล่งตลอดคืน ลดการหยุดหายใจ และอาการนอนกรน - การปรับท่าทางของลิ้น
Myofunctional Therapy ช่วยฝึกให้ลิ้นวางอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมในเวลานอน จะช่วยป้องกันไม่ให้ลิ้นตกลงมาปิดกั้นทางเดินหายใจ เป็นการเพิ่มคุณภาพของการหายใจอย่างต่อเนื่อง - ปรับปรุงการทำงานของกล้ามเนื้อบริเวณช่องปาก
การฝึก Myofunctional Therapy ยังช่วยพัฒนาการทำงานของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืน และลดปัญหาที่อาจทำให้เกิดแรงดันหรือการอุดกั้นในทางเดินหายใจ ทำให้ระบบการหายใจและการกลืนทำงานร่วมกันอย่างสมดุล ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ - การปรับพฤติกรรมการหายใจ
ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับมักมีปัญหากับการหายใจทางปาก Myofunctional Therapy ช่วยฝึกให้คนไข้ปรับพฤติกรรมการหายใจโดยเปลี่ยนไปใช้การหายใจทางจมูก ซึ่งเป็นการช่วยให้ทางเดินหายใจส่วนบนเปิดโล่งมากขึ้น ลดการอุดกั้นในช่วงที่นอนหลับ - ลดการใช้เครื่องช่วยหายใจ
คนไข้บางรายที่ไม่สามารถใช้เครื่อง CPAP หรือ BiPAP ได้ สามารถใช้วิธี Myofunctional Therapy ช่วยลดการพึ่งพาเครื่องช่วยหายใจ โดยเฉพาะในกรณีที่อาการยังไม่รุนแรงมาก
ประโยชน์ของการรักษาด้วย Myofunctional Therapy ที่ VitalSleep Clinic
- รักษาโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือ
ไม่ต้องใช้เครื่อง CPAP หรือ BiPAP เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ไม่สามารถใช้อุปกรณ์เหล่านี้ได้
- วิธีการรักษาที่ปลอดภัย
การฝึกกล้ามเนื้อในแบบง่าย ๆ ช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ ปลอดภัยไม่ต้องผ่าตัด
- เสริมสร้างสุขภาพในช่องปากและลำคอ
ช่วยปรับปรุงการกลืนและการหายใจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
- การรักษาที่เหมาะสำหรับทุกคน
ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่สามารถรับการรักษาด้วย Myofunctional Therapy ได้อย่างปลอดภัย
- เป็นการรักษาที่ต้นเหตุ
วิธีเดียวในการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับและมีโอกาสหายขาด
ขั้นตอนการรักษา Myofunctional Therapy ที่ VitalSleep Clinic
- การประเมินการรักษาจากแพทย์เฉพาะทาง
ทีมแพทย์เฉพาะทางของเราจะทำการประเมินปัญหาของผู้ป่วยเพื่อออกแบบวางแผนการรักษาให้เหมาะกับแต่ละบุคคล
- โปรแกรมฝึกกล้ามเนื้อ
คนไข้จะได้รับการฝึกท่าบริหารกล้ามเนื้อที่ออกแบบมาให้เหมาะกับคนไข้ ช่วยเสริมสร้างให้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในช่องปากและลำคอ
- การติดตามผล
ทีมแพทย์จะติดตามผลการรักษาอย่างใกล้ชิดตลอดการรักษา เพื่อปรับโปรแกรมให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลและมีประสิทธิภาพสูงสุด
เลือกรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่ VitalSleep Clinic
- ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ คลินิกของเรามีทีมแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญและได้รับการรับรองจากสถาบันนานาชาติ มีใบรับรองแพทย์เฉพาะทาง เกี่ยวกับกล้ามเนื้อทางใบหน้าที่ผิดปกติ เช่นช่องปากและลิ้น เป็นต้น
- เทคโนโลยีที่ทันสมัย VitalSleep Clinic มีเทคโนโลยีในการรักษาที่ทันสมัย ทั้งแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด นอกจากนี้ยังมีการบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ Myofunction Therapy และอุปกรณ์ทันตกรรมที่ลดปัญหาการกัดฟันและข้อต่อขากรรไกรอักเสบ
- แผนการรักษาเฉพาะบุคคล ที่จะออกแบบแผนการรักษาให้เหมาะสมกับความต้องการและปัญหาของผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด