นอนกัดฟันรักษายังไง ! นอนกัดฟัน (Bruxism) คือ ภาวะที่คนนั้นกัดหรือขบฟันโดยไม่รู้ตัวขณะนอนหลับอยู่ อาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งแบบมีเสียงขบฟันแรง ๆ หรือแบบไม่มีเสียง ในบางครั้งคนที่นอนกัดฟันเองก็อาจไม่รู้ตัวจนกระทั่งเกิดอาการปวดฟัน ปวดกราม หรือมีคนรอบข้างสังเกตเห็นเสียงกัดฟันในเวลานอนตอนกลางคืน
นอนกัดฟัน อันตรายไหม?
นอนกัดฟันอาจดูเหมือนเป็นเรื่องที่ไม่มีอันตราย แต่ในความเป็นจริงแล้วหากปล่อยไว้โดยไม่รีบรักษา อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในช่องปากและสุขภาพโดยรวมได้ ซึ่งอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการนอนกัดฟัน มีดังนี้
- ฟันสึกและแตกหัก
- อาการปวดกรามและข้อต่อขากรรไกร (TMD)
- อาการปวดศีรษะเรื้อรัง
- ปัญหาการนอนหลับ
- เสี่ยงต่อโรคทางทันตกรรม
สาเหตุของอาการนอนกัดฟัน
- ภาวะความเครียดและความวิตกกังวล
ความเครียดจากการทำงานสามารถทำให้กล้ามเนื้อบริเวณกรามตึงตัวโดยไม่รู้ตัว เกิดอาการกัดฟันขณะนอนหลับ เกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อขากรรไกรขณะนอนหลับ
- ความผิดปกติของการสบฟัน
ฟันที่มีการเรียงตัวผิดปกติ ฟันซ้อนเก ความผิดปกติเหล่านี้ส่งผลต่อแรงกดและการเคลื่อนที่ของขากรรไกร ทำให้ร่างกายพยายามปรับสมดุลโดยการกัดฟัน
- ผลกระทบจากสารกระตุ้น
บุหรี่ แอลกอฮอล์ คาเฟอีน หรือยาบางชนิดเช่น ยารักษาโรคซึมเศร้า สารกระตุ้นเหล่านี้มีผลต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดการกระตุ้นของกล้ามเนื้อขากรรไกรโดยไม่รู้ตัว
- การสูญเสียฟันโดยไม่ได้ใส่ฟันทดแทน
เมื่อมีซี่ฟันหายไป มีช่องว่างระหว่างฟันอาจทำให้เกิดแรงกัดที่ไม่สมดุล ฟันซี่ที่เหลืออยู่อาจมีการเคลื่อนที่เพื่อพยายามปรับตัว ทำให้เกิดแรงกัดที่ผิดปกติและนำไปสู่อาการนอนกัดฟันได้
- พันธุกรรมและปัจจัยทางระบบประสาท
มีการศึกษาพบว่าอาการนอนกัดฟันอาจถ่ายทอดทางพันธุกรรม หากคนในครอบครัวมีประวัตินอนกัดฟัน โอกาสที่ลูกหลานหรือคนในครอบครัวจะมีอาการนี้ก็สูงขึ้น
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA)
ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับมีแนวโน้มที่จะมีอาการนอนกัดฟันร่วมด้วย เนื่องจากร่างกายพยายามเปิดทางเดินหายใจโดยการขยับขากรรไกร ซึ่งอาจทำให้เกิดการกัดฟันโดยไม่รู้ตัว
อาการที่อาจบอกว่าคุณกำลังนอนกัดฟัน
- ปวดข้อต่อขากรรไกร หรือล็อกขากรรไกรตอนเช้า
- ได้ยินเสียง “คลิก” จากข้อต่อขากรรไกร
- ฟันสึกหรอเร็วกว่าปกติ
- ฟันแตกหักหรือมีรอยร้าวโดยไม่ทราบสาเหตุ
- รู้สึกปวดหรือเมื่อยกรามหลังตื่นนอน
- มีเสียงดังจากฟันขณะนอนหลับ ทำให้คนข้าง ๆ ได้ยิน
- หายใจทางปากขณะนอนหลับ
- ปวดบริเวณกกหูหรือลำคอโดยไม่ทราบสาเหตุ
หากพบว่าคุณมีอาการเหล่านี้หลายข้อ ควรรีบปรึกษาทันตแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและหาทางแก้ไข
วิธีรักษาและแก้ไขปัญหานอนกัดฟันที่ VitalSleep Clinic
- ใช้อุปกรณ์ทางทันตกรรม เฝือกสบฟัน (Splint)
อุปกรณ์เหล่านี้ช่วยป้องกันไม่ให้ฟันบนและฟันล่างสัมผัสกันโดยตรง ลดแรงกัดและลดอาการสึกกร่อนของฟัน- เฝือกสบฟันแบบนุ่ม
อาจช่วยลดแรงกัดฟันได้บางส่วน แต่บางกรณีอาจกระตุ้นให้กัดฟันมากขึ้น - เฝือกสบฟันแบบแข็ง
ป้องกันฟันสึกได้ดีกว่าและช่วยลดแรงกัดได้จริง ทาง VitalSleep Clinic แนะนำอุปกรณ์ประเภทนี้ในการรักษาผู้ป่วย
- เฝือกสบฟันแบบนุ่ม
- ปรับพฤติกรรมและลดปัจจัยเสี่ยง
- ฝึกการวางตำแหน่งของลิ้นและฟันให้ถูกต้อง โดยไม่กัดฟันตลอดเวลา
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่
- ผ่อนคลายความเครียดก่อนนอน เช่น การทำสมาธิ หรือโยคะ
- ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อลดภาวะความเครียดสะสม
- การรักษาทางทันตกรรมเพิ่มเติม
- การปรับแต่งการสบฟันให้สมดุล
- การทำฟันปลอมทดแทนในกรณีที่สูญเสียฟันไป
- การทำกายภาพบำบัดขากรรไกรในกรณีที่มีอาการปวดเรื้อรัง
สรุป
นอนกัดฟันสามารถรักษาได้ แม้ว่าอาจไม่สามารถแก้ไขให้หายขาด 100% ได้ แต่สามารถลดความรุนแรงของอาการและป้องกันผลกระทบระยะยาวได้ หากคุณหรือคนใกล้ตัวมีอาการนอนกัดฟัน ปวดฟัน หรือปวดกราม ควรรีบพบแพทย์เพื่อหาทางแก้ไข ที่ VitalSleep Clinic มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา และมีอุปกรณ์ที่ทันสมัยในการช่วยแก้ไขปัญหานอนกัดฟัน ปวดกราม ฟันสึก และปัญหาข้อต่อขากรรไกร