มีใครเคยประสบปัญหาเสียงกรนดังรบกวนจากคนรอบข้างเวลานอนหลับกันบ้างไหม? อาการนอนกรนไม่เพียงแต่สร้างความรำคาญให้กับคนที่นอนอยู่ข้าง ๆ แต่ยังสามารถส่งผลกระทบที่อันตรายถึงชีวิตจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้อีกด้วย ยังทำให้คุณภาพการนอนลดลง ซึ่งไม่เพียงกระทบต่อคนที่นอนกรน แต่ยังส่งผลให้คู่กรนตื่นตัวในตอนกลางคืน ไม่สามารถนอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้รู้สึกง่วงนอนในตอนกลางวัน เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการหลับใน และมีผลต่อสุขภาพโดยรวมในระยะยาวของทั้งสองฝ่าย
หลาย ๆ คนอาจเคยได้ยินถึงวิธีการรักษาอาการนอนกรนที่มีหลากหลายรูปแบบ ในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงเครื่องช่วยหายใจสำหรับคนนอนกรน วิธีที่ช่วยรักษาอาการนอนกรนรวมถึงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ นอกจากนี้ เรายังจะเปรียบเทียบวิธีการรักษาอื่น ๆ เช่น การผ่าตัดลดนอนกรนและการรักษาด้วยเลเซอร์ รวมถึงวิธีการที่ไม่ต้องผ่าตัด
นอนกรนรักษาได้ง่าย ๆ เริ่มที่ทำความเข้าใจ
เริ่มแรกเลย ก่อนจะเข้าใจวิธีการรักษา อยากให้ทุกคนมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า “เสียงกรน” เกิดขึ้นได้อย่างไร สาเหตุที่ทำให้เรานอนกรนคืออะไร อาการนอนกรนเกิดจากการที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบลงในขณะนอนหลับ
สาเหตุที่ทำให้ระบบทางเดินหายใจเกิดการตีบแคบลง มาจากการที่กล้ามเนื้อภายในช่องปาก เช่น เพดานอ่อนและลิ้น หย่อนคล้อยหรือคลายตัวลงจนทำให้ปิดกั้นทางเดินหายใจ
เมื่อทางเดินหายใจแคบลง เวลาหายใจเข้าเพื่อให้อากาศเข้าสู่ร่างกาย ลมจะเดินทางผ่านช่องทางที่ตีบแคบ ซึ่งทำให้เกิดเสียงกรนจากการสั่นสะเทือนของกล้ามเนื้อในช่องปาก ในบางรายอาจเกิดการถูกปิดกั้นทางเดินหายใจทั้งหมด ซึ่งทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
ทำความรู้จัก เครื่องช่วยหายใจรักษานอนกรน
จากเนื้อหาข้างต้น เราได้กล่าวถึงสาเหตุของการนอนกรน โดยสรุปได้ว่า สาเหตุเกิดจากการที่ทางเดินหายใจตีบแคบจากการถูกอุดกั้นจากกล้ามเนื้อภายในช่องปาก เครื่องช่วยหายใจรักษานอนกรน หรือที่เรารู้จักกันดีว่า CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) และ iNAP จะช่วยรักษาอาการนอนกรนได้อย่างไร? มาดูกันเถอะ
1. เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP)
CPAP เป็นวิธีรักษานอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่มีผลลัพธ์ดีมาก ในการแก้ไขอาการนอนกรน ตัวเครื่อง CPAP จะเชื่อมต่อกับหน้ากากผ่านท่ออากาศ ซึ่งมีหน้าที่ส่งแรงดันอากาศ โดยตัวเครื่องจะผลิตแรงดันอากาศแรงดันบวกออกมา ส่งอากาศผ่านเข้าสู่ท่ออากาศที่ครอบอยู่เหนือบริเวณปากและจมูกของผู้ใช้
แรงดันลมที่ออกมาจากตัวเครื่องจะช่วยขยายทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น ทำให้ลมหายใจสามารถเดินทางไปถึงปอดได้อย่างสะดวก ช่วยแก้ไขอาการนอนกรนและป้องกันการอุดกั้นทางเดินหายใจซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
2. เครื่องอัดอากาศแรงดันลบ (iNAP)
iNAP เป็นอุปกรณ์อีกประเภทหนึ่งที่ช่วยแก้ไขอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจในขณะหลับ โดยมีหน้าที่สร้างแรงดันลม เพื่อช่วยให้บริเวณเพดานอ่อนและโคนลิ้นเคลื่อนตัวไปด้านหน้า ทำให้ทางเดินหายใจขยายกว้างมากขึ้น
รูปแบบการทำงานของเครื่องมีความคล้ายกับ CPAP แต่จะมีความแตกต่างในส่วนของหน้ากากที่ใช้ส่งผ่านอากาศ รวมถึงขนาดตัวอุปกรณ์ที่เล็กกะทัดรัดมากกว่า จึงเหมาะสำหรับการพกพาและมีเสียงเงียบ ไม่ส่งเสียงดังรบกวนในขณะเปิดใช้งาน
เครื่องช่วยหายใจรักษานอนกรน เหมาะสำหรับใคร?
เครื่องช่วยหายใจรักษานอนกรนเหมาะสำหรับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่า มีปัญหาภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือมีอาการกรนในระดับปานกลางถึงรุนแรงซึ่งอาจส่งผลอันตรายถึงชีวิต ผู้ที่มีปัญหาการหยุดหายใจขณะหลับเพียงเล็กน้อยแต่มีอาการนอนกรนเสียงดัง ตื่นมาหอบหรือสำลักในขณะหลับ ตื่นขึ้นจากการนอนหลับแล้วเกิดอาการอ่อนเพลีย
ต้องเลือกแบบไหนถึงเหมาะสมกับตัวเอง?
เครื่องช่วยหายใจมีความแตกต่างกันตามแต่ละรุ่นและแต่ละยี่ห้อ เช่น
- ขนาดและรูปร่าง ในบางรุ่นมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา เหมาะสำหรับการพกพา ในขณะที่บางรุ่นมีขนาดตัวเครื่องที่ใหญ่และหนักกว่า
- เสียงรบกวน ในบางรุ่นตัวเครื่องจะมีเสียงรบกวนที่เงียบและเบากว่ารุ่นอื่น ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการนอนหลับยากหรือไวต่อเสียงรบกวน
- ฟังก์ชันการใช้งาน เครื่องช่วยหายใจในแต่ละรุ่นมีรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกัน เช่น การลดหรือเพิ่มแรงดันลมขณะหายใจเข้าและออก การทำความชื้น และการบันทึกข้อมูล ซึ่งแต่ละรุ่นจะมีฟังก์ชันการใช้งานที่สามารถปรับแต่งได้แตกต่างกัน
- มีระบบติดตามผลการใช้งานเครื่องผ่านระบบออนไลน์ (Cloud) เพื่อง่ายการต่อการปรับตั้งค่าแรงดัน
การเลือกเครื่องช่วยหายใจให้เหมาะสมกับตัวเอง สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงคือลักษณะการใช้งานของผู้ใช้ รวมไปถึงไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการและความสะดวกในการใช้งาน สิ่งสำคัญที่สุดคือการได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือคลินิกนอนกรนที่มีแพทย์เฉพาะทางให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การใช้เครื่องช่วยหายใจสามารถรักษาปัญหาอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เปรียบเทียบกับวิธีการรักษานอนกรนวิธีต่างๆ
ในส่วนสุดท้ายของบทความ เราจะเสนอวิธีการรักษาการนอนกรนในรูปแบบอื่น ๆ นอกจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ เพื่อให้ทุกคนสามารถเปรียบเทียบและตัดสินใจในการเลือกรับวิธีการรักษา ที่ Vital Sleep Clinic เป็นคลินิกนอนกรนที่รักษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของการนอนหลับ รวมไปถึงการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) ที่มีรูปแบบการรักษาที่ครบวงจร
นอนกรนรักษาด้วยวิธีไหนได้บ้าง?
การรักษาปัญหาอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โดยหลักๆ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การรักษาแบบไม่ผ่าตัด และการรักษาโดยการผ่าตัด
1. การรักษานอนกรนแบบไม่ผ่าตัด (ต่อ)
- รักษาด้วยเครื่องมือทันตกรรม (Oral Appliance)
เครื่องครอบฟันเป็นอุปกรณ์ทันตกรรมที่ใช้สวมใส่ในช่องปากขณะหลับ มีหน้าที่ในการปรับตำแหน่งของลิ้นและขากรรไกรให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้า เพื่อป้องกันการอุดกั้นทางเดินหายใจ เป็นวิธีการที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการกรนเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ต้องการใช้เครื่อง CPAP
- การบำบัดด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรม
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอน เช่น การลดน้ำหนัก การหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอน การนอนตะแคงแทนการนอนหงาย และการตั้งเวลาเข้านอนให้เป็นระเบียบสามารถช่วยลดอาการกรนได้ในหลายๆ กรณี
- การทำกายภาพบำบัด
ในบางกรณี การทำกายภาพบำบัดที่เน้นการออกกำลังกายของกล้ามเนื้อในช่องปากและลำคอ หรือเรียกว่า Myofunctional Therapy สามารถช่วยปรับปรุงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหล่านั้นได้ ซึ่งส่งผลให้ลดอาการกรนตั้งแต่ต้นสาเหตุได้
2. การรักษานอนกรนด้วยการผ่าตัด
- การผ่าตัดลดขนาดเพดานอ่อน (Uvulopalatopharyngoplasty หรือ UPPP)
การผ่าตัดชนิดนี้จะทำการตัดเนื้อเยื่อส่วนเกินในช่องปาก เช่น เพดานอ่อน ลิ้น ส่วนที่อุดกั้นทางเดินหายใจเพื่อเปิดทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาการนอนกรนในระดับรุนแรงและไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่น ๆ
- การผ่าตัดเลเซอร์
การใช้เลเซอร์ในการรักษาเป็นวิธีที่มีความก้าวหน้าและใช้เวลาในการฟื้นตัวน้อยกว่า โดยเลเซอร์จะช่วยตัดหรือขัดเนื้อเยื่อส่วนเกินในช่องปากเพื่อลดการกรน
- การผ่าตัดเปิดทางเดินหายใจ (Genioglossus Advancement)
วิธีนี้จะทำการผ่าตัดเพื่อเคลื่อนตำแหน่งของกล้ามเนื้อในลิ้นหรือโคนลิ้นไปด้านหน้า ทำให้ทางเดินหายใจเปิดกว้างขึ้น ลดความเสี่ยงจากการอุดกั้นทางเดินหายใจ
- การผ่าตัดนอนกรนแบบ MMA (Maxillomandibular Advancement)
เป็นวิธีการผ่าตัดที่ใช้แก้ไขภาวะนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) ในกรณีที่รุนแรง ไม่ตอบสนองต่อการรักษาวิธีอื่น ๆ โดยการเลื่อนขากรรไกรบนและล่างไปข้างหน้าเพื่อเพิ่มพื้นที่ทางเดินหายใจ ทำให้อากาศไหลผ่านได้ดีขึ้น ลดการอุดตันที่ทำให้เกิดการนอนกรนได้
สรุป
เสียงกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นปัญหาที่หลายคนไม่ควรมองข้าม การหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพในระยะยาว เครื่องช่วยหายใจนอนกรนอย่าง CPAP และ iNAP เป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพในการรักษาอาการนอนกรนที่มีสาเหตุจากการอุดกั้นทางเดินหายใจ
นอกจากนี้ยังมีวิธีการรักษาอื่น ๆ ที่สามารถช่วยได้ ทั้งการรักษาแบบไม่ผ่าตัดและการผ่าตัด ซึ่งผู้ที่มีปัญหานอนกรนควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้คำแนะนำและการวินิจฉัยที่ถูกต้อง ก่อนที่จะเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดกับตนเอง
Vital Sleep Clinic ยินดีให้คำปรึกษาและรักษาอย่างครบวงจรเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และกลับไปนอนหลับได้อย่างสงบสุขและปลอดภัยจากอาการกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
การนอนกรนไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยที่ควรมองข้าม หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพโดยรวมในระยะยาวได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ เช่น เครื่องช่วยหายใจและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ ดังนั้นหากคุณหรือคนใกล้ชิดมีปัญหาเหล่านี้ อย่ามัวรอช้า รีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางและผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาทางรักษาที่เหมาะสมกัน