นอนกรนเกิดจากอะไร? เกิดจากการหายใจผ่านช่องทางเดินหายใจที่แคบลงขณะนอนหลับ จากการอุดกั้นของกล้ามเนื้อและอวัยวะภายในช่องปาก ส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณคอ เช่น เพดานอ่อน ลิ้นไก่ และทอนซิล สั่นสะเทือนจนเกิดเป็นเสียงกรนในขณะที่นอนหลับอยู่
ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะทางเดินหายใจแคบลง ได้แก่
- โครงสร้างทางกายภาพ
- ภาวะอ้วนหรือมีไขมันสะสมบริเวณลำคอ
- กล้ามเนื้อในลำคอหย่อนตัว
- โครงสร้างกระดูกใบหน้า
- ภาวะคัดจมูกเรื้อรังหรือผิดปกติทางโพรงจมูก
ระดับความรุนแรงของการนอนกรน
อาการนอนกรนสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ตามความรุนแรงของอาการและผลกระทบที่เกิดขึ้น ดังนี้
- ระดับ 1 (เล็กน้อย)
- นอนกรนเป็นครั้งคราว เกิดจากร่างกายของคุณเหนื่อยล้าหรืออยู่ในภาวะที่ทำให้กล้ามเนื้อทางเดินหายใจหย่อนตัว เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ก่อนเข้านอน
- เสียงกรนไม่ดังมาก ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการนอนของตัวเองหรือคนรอบข้าง
- ยังไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวม
- ระดับ 2 (ปานกลาง)
- นอนกรนเป็นประจำ มากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ เสียงกรนเริ่มดังขึ้น อาจมีสะดุ้งตื่นเป็นบางช่วง
- ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการนอน จะรู้สึกง่วงนอนในตอนกลางวัน ปวดศีรษะตอนตื่นนอน
- อาจเริ่มส่งผลต่อสุขภาพ เช่น ความดันโลหิตสูง และระบบหัวใจและหลอดเลือด
- ระดับ 3 (รุนแรง)
- นอนกรนเสียงดังทุกคืนและมีช่วงหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย อาจทำให้ตื่นขึ้นมากลางดึก หายใจหอบ และสำลักน้ำลาย
- มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA)
- มีผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง (Stroke) และเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า
ใครบ้างที่เสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ?
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่พบมากในกลุ่มต่อไปนี้
- ผู้ชายอายุมากกว่า 30 ปี และผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
- คนที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน
- คนที่มีโครงสร้างทางเดินหายใจผิดปกติ เช่น คางเล็ก ลิ้นโต ทอนซิลโต หรือจมูกคด
- คนที่เป็นโรคภูมิแพ้ มีภาวะคัดจมูกเรื้อรัง
- คนป่วยเบาหวาน โรคหัวใจ หรือไทรอยด์ทำงานต่ำ
- คนที่ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือใช้ยานอนหลับเป็นประจำ
อันตรายจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
- ทำให้หลับไม่สนิท ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต
- คนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) จะมีอาการสะดุ้งตื่นเป็นช่วง ๆ ตลอดทั้งคืน ทำให้หลับไม่สนิทและร่างกายไม่ได้รับพักผ่อนอย่างเต็มที่
- รู้สึกง่วงนอนในเวลากลางวัน อ่อนเพลียเรื้อรัง
- เสี่ยงต่อโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง
- เมื่อเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) สมองและอวัยวะต่าง ๆ จะได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น
- เพิ่มความเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และภาวะหัวใจล้มเหลว
- ในงานวิจัยพบว่า คนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) มีโอกาสเป็นโรคหัวใจ 2-3 เท่ามากกว่าคนปกติ
- กระทบต่อสมาธิ ความจำ และอารมณ์
- การที่สมองขาดออกซิเจนบ่อย ๆ จะทำให้สมาธิสั้น ความจำลดลง และประสิทธิภาพการคิดวิเคราะห์แย่ลง
- มีผลต่ออารมณ์และจิตใจ ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย หรือมีอารมณ์แปรปรวน
- อาจเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันจากการขาดออกซิเจน
- เมื่อมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) ระดับออกซิเจนในเลือดจะลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้หัวใจต้องสูบฉีดเลือดแรงขึ้นเพื่อชดเชย
- ในกรณีที่รุนแรงอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน หลอดเลือดสมองตีบ หรือโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต
- คนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) มักมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าคนอื่น ๆ ทั่วไป
การตรวจการนอนหลับที่ VitalSleep Clinic กุญแจสู่การนอนหลับที่ดีขึ้น
ข้อดีของการตรวจการนอนหลับกับ VitalSleep Clinic
- ตรวจได้ที่บ้าน ไม่ต้องเดินทาง
- มีทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญดูแล
- รองรับทุกจังหวัดในประเทศไทย
วิธีการรักษาอาการนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ จาก VitalSleep Clinic ได้แก่
- Myofunctional Therapy การบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและลดการอุดกั้นทางเดินหายใจ
- อุปกรณ์ทันตกรรมขยายทางเดินหายใจ (Oral Appliance) สำหรับคนที่ไม่ประสบความสำเร็จกับการใช้เครื่อง CPAP ได้
- การใช้เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก (CPAP) ซึ่งเป็นมาตรฐานการรักษาหลัก
- การลดน้ำหนัก สำหรับผู้ที่มีภาวะอ้วน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของ OSA
- การรักษาด้วยการผ่าตัดเลื่อนกระดูกขากรรไกรบนและล่างมาทางด้านหน้า (Maxillomandibular Advancement Surgery หรือ MMA)
สรุป
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) เป็นภาวะที่อาจส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ที่ VitalSleep Clinic เรามีแนวทางการรักษาที่ทันสมัยและหลากหลาย เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ลดอาการนอนกรน เพิ่มคุณภาพการนอนหลับ และลดความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อน