Skip to content
  • อาคารพญาไท พลาซ่า
  • ชั้น 33 ติด BTS
  • สถานี พญาไท ทางออกที่ 1
  • อาคารพญาไท พลาซ่า
  • ชั้น 33 ติด BTS
  • สถานี พญาไท ทางออกที่ 1
7 วิธีรักษานอนกรน
และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
ที่แพทย์เฉพาะทางแนะนำ

7 วิธีรักษานอนกรน

และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
ที่แพทย์เฉพาะทางแนะนำ
Table of Contents

วิธีรักษานอนกรนที่หลาย ๆ คนอาจจะกำลังมองหาวิธีที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ เพื่อจะได้นอนหลับอย่างมีคุณภาพและตื่นขึ้นมาพร้อมกับความสดชื่นในทุก ๆ เช้า อาการนอนกรนที่เกิดขึ้น นอกจากจะเป็นปัญหากับคนที่อยู่รอบตัวคุณแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวของคุณเองอีกด้วย

ลองมาดู 7 วิธี ที่สามารถช่วยลดอาการนอนกรนได้โดยไม่ต้องพึ่งอุปกรณ์

  • ลดน้ำหนัก
    สำหรับคนที่มีน้ำหนักเกิน ไขมันที่สะสมอยู่บริเวณลำคอมากอาจไปกดทับทางเดินหายใจ การลดน้ำหนักจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการนอนกรนแล้ว ยังส่งผลดีต่อสุขภาพในหลาย ๆ ด้านอีกด้วย
  • งดดื่มชา กาแฟ และแอลกอฮอล์ก่อนนอน
    เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์สามารถทำให้กล้ามเนื้อบริเวณลำคอหย่อนลงมากขึ้นตอนที่เรานอนหลับ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้อย่างน้อย 4 ชั่วโมง ก่อนเข้านอน
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ก่อนนอน
    เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการอักเสบและบวมของเนื้อเยื่อทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้เกิดการคัดจมูกและหายใจติดขัด
  • นอนหลับให้เพียงพอ
    การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอทำให้ร่างกายอ่อนล้า กล้ามเนื้อบริเวณลำคอและช่องทางเดินหายใจหย่อนตัวลงได้ง่ายขึ้น ควรจัดตารางการนอนให้เพียงพอเพื่อลดความเสี่ยงของอาการกรน
  • หลีกเลี่ยงยาบางชนิด
    เช่น ยานอนหลับ ยาระงับประสาท และยาแก้แพ้ชนิดง่วง อาจมีผลข้างเคียงทำให้กล้ามเนื้อในลำคอหย่อนตัวลง ทางเดินหายใจแคบลงและเกิดอาการกรน
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
    ช่วยเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในร่างกาย รวมถึงกล้ามเนื้อในบริเวณลำคอ ทำให้การหย่อนตัวของเนื้อเยื่อในช่องปากและลำคอในขณะนอนหลับลดลง

ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก

ทั้ง 7 วิธีที่แนะนำนี้เป็นเพียงวิธีการดูแลตัวเองเบื้องต้น แต่หากคุณทำตามแล้วยังมีอาการนอนกรนอยู่ หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย ควรรีบเข้ามาพบแพทย์เพื่อตรวจการนอนหลับ Sleep Test และรับการรักษาอย่างถูกวิธี

สัญญาณของภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่ควรสังเกต

  1. เสียงกรนดังมาก ได้ยินแม้อยู่ในห้องที่ปิดประตู
  2. นอนกระสับกระส่าย ขยับตัวเยอะในขณะหลับ
  3. ปวดศีรษะเมื่อคุณตื่นนอนตอนเช้า
  4. ตื่นขึ้นมาหายใจแรง สำลัก หรือรู้สึกหายใจติดขัด
  5. ง่วงนอนระหว่างวันมากกว่าปกติ
  6. มีความต้องการทางเพศลดลง

หากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการเหล่านี้ ควรรีบเข้ารับการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เพื่อทำการวินิจฉัยและได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เพราะภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นอันตรายที่อาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว

การรักษาอาการนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับโดยแพทย์เฉพาะทาง

ที่ VitalSleep Clinic เรามีวิธีการรักษาอาการนอนกรนโดยไม่ต้องผ่าตัดที่ได้ผลดี 4 วิธี ได้แก่

  1. การบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ (Myofunctional Therapy)

เป็นนวัตกรรมการรักษาที่ช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าและทางเดินหายใจให้แข็งแรง เป็นวิธีที่แพทย์แนะนำเพราะช่วยแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุได้

อ่านเพิ่มเติม:

  1. เครื่องมือทันตกรรม (Oral Appliance)

เครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ทางเดินหายใจเปิดกว้างขึ้นในขณะที่นอนหลับ โดยจะช่วยดันขากรรไกรล่างไปข้างหน้าเล็กน้อย ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพในการลดอาการนอนกรน

อ่านเพิ่มเติม:

และที่ VitalSleep Clinic คุณมั่นใจได้ในคุณภาพและความปลอดภัยของอุปกรณ์ เพราะผลิตจากห้องแล็บที่อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทางที่ได้รับการรับรองจาก American Board of Dental Sleep Medicine

  1. การใช้คลื่นความถี่วิทยุ RF Bot

จะสำหรับคนที่มีอาการกรนจากการหย่อนของกล้ามเนื้อบริเวณโคนลิ้นหรือเยื่อบุจมูก ทำให้ลมหายใจไหลเวียนได้สะดวกขึ้น โดยการรักษานี้จะต้องทำโดยแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม:

  1. เครื่องช่วยหายใจ CPAP

เครื่องช่วยหายใจนี้ ป้องกันทางเดินหายใจไม่ให้ปิดกั้นในขณะนอนหลับ ทำให้คุณรับออกซิเจนได้อย่างเพียงพอ และเหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับอย่างรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม:

อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่เดินทางบ่อยหรือไม่สะดวกในการพกพาเครื่อง CPAP แพทย์อาจแนะนำการใช้เครื่องมือทันตกรรมแทนเพื่อความสะดวกกับคนไข้

สรุป

วิธีลดอาการนอนกรนและแนวทางรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่แนะนำโดยแพทย์เฉพาะทาง โดยเริ่มจากการปรับพฤติกรรม เช่น การลดน้ำหนัก, หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และบุหรี่, นอนหลับให้เพียงพอ, ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และ เลี่ยงยาที่ทำให้กล้ามเนื้อลำคอหย่อนตัว หากอาการยังคงอยู่ ควรเข้ารับการตรวจและรักษาโดยแพทย์ เช่น การใช้เครื่องมือทันตกรรม (Oral Appliance), เครื่องช่วยหายใจ CPAP, การทำ Myofunctional Therapy หรือ การใช้คลื่นวิทยุ RF ซึ่งช่วยแก้ไขต้นเหตุของอาการ ที่ VitalSleep Clinic ยังมีเทคโนโลยีทันสมัยและแพทย์เฉพาะทางที่สามารถให้คำแนะนำและรักษาได้อย่างเหมาะสม เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพการนอนที่ดีขึ้นและลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพในระยะยาว

Related Blogs and Articles
จะทำอย่างไร ถ้าการรักษานอนกรน ด้วยเครื่อง CPAP ราคาแพงเกินไป

ปัญหาอาการนอนกรนเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในคนจำนวนมาก โดยบางคนอาจมองว่าอาการนอนกรนเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย ไม่ใช่ปัญหาที่ต้องให้ความสนใจมากนัก แต่ในความเป็นจริงภาวะนอนกรนนั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่เสียงรบกวนเวลานอนหลับเท่านั้น มันยังเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงและอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตได้ภาวะการนอนกรนมักเกี่ยวข้องกับปัญหาการหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) อาจทำให้เกิดอาการหยุดหายใจชั่วขณะในระหว่างการนอนหลับ ภาวะนี้ส่งผลต่อการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย หากปล่อยไว้ไม่รักษาอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต แม้แต่ความเสี่ยงในการเสียชีวิตเฉียบพลันในปัจจุบัน วิธีการรักษาภาวะนอนกรนมีอยู่หลายวิธี หนึ่งในวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางคือการใช้เครื่อง CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) โดยเครื่อง CPAP นี้ทำหน้าที่ส่งแรงดันลมเข้าไปเปิดทางเดินหายใจในขณะหลับ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถหายใจได้อย่างราบรื่น แต่หลายคนอาจพบปัญหาว่าเครื่อง CPAP นั้นมีราคาที่สูง ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงได้ง่าย รวมถึงความยุ่งยากในการใช้งานที่อาจทำให้รู้สึกไม่สะดวก แล้วจะทำอย่างไร หากการรักษาด้วยเครื่อง CPAP มีราคาสูงเกินไป บทความนี้จะแนะนำวิธีการรักษาภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับในทางเลือกอื่น ๆ ที่สามารถทดแทนเครื่อง CPAP ได้ นอนกรนเกิดขึ้นได้อย่างไร? อาการนอนกรนเกิดขึ้นเมื่อทางเดินหายใจถูกอุดกั้นบางส่วนในขณะหลับ เมื่อเรานอนหลับ กล้ามเนื้อต่าง ๆ ในร่างกายจะคลายตัวลง รวมถึงกล้ามเนื้อบริเวณคอ เพดานอ่อน และโคนลิ้น เมื่อกล้ามเนื้อเหล่านี้หย่อนคล้อยลง อาจไปขัดขวางทางเดินหายใจ ทำให้ทางเดินหายใจแคบลง เกิดการสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่อบริเวณนั้น ซึ่งทำให้เกิดเสียงกรนขึ้นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะนอนกรนคืออายุที่เพิ่มขึ้น เมื่อเรามีอายุที่มากขึ้น กล้ามเนื้อต่าง ๆ ในร่างกายก็เริ่มสูญเสียความยืดหยุ่น รวมถึงกล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจ ซึ่งทำให้เกิดการหย่อนคล้อยและปิดกั้นการหายใจได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ภาวะนอนกรนยังสัมพันธ์กับปัจจัยอื่น ๆ เช่น น้ำหนักตัวที่มากเกินไป การดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ ปรึกษาปัญหานอนกรน ฟรี! ทำไมการนอนกรนจึงควรรักษา? แม้ว่าการนอนกรนอาจดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่การอานอนกรนที่เกิดร่วมกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับถือว่าเป็นปัญหาสุขภาพที่ควรให้ความสนใจอย่างยิ่ง การหยุดหายใจขณะหลับทำให้ร่างกายและสมองขาดออกซิเจนในระหว่างการนอนหลับ ซึ่งอาจทำให้คุณภาพการนอนหลับลดลง ร่างกายไม่สามารถฟื้นฟูตัวเองได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้เกิดความเหนื่อยล้าในระหว่างวัน รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคสมองเสื่อมนอกจากนี้ การขาดออกซิเจนยังส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมองโดยตรง ทำให้การประมวลผลข้อมูล การคิดวิเคราะห์ และความจำเสื่อมถอยลงอย่างรวดเร็ว ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับมีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาด้านความจำและสมาธิ รวมถึงมีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา อาการเหล่านี้จะทวีความรุนแรงขึ้นและอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ นอนกรนต้องการปรึกษา ฟรี! เครื่อง CPAP ช่วยรักษาภาวะนอนกรนอย่างไร? เครื่อง CPAP เป็นเครื่องช่วยหายใจที่ใช้สำหรับรักษาภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ โดยหลักการทำงานของเครื่องคือการส่งแรงดันลมเข้าไปในทางเดินหายใจเพื่อเปิดทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น ทำให้ผู้ใช้งานสามารถหายใจได้สะดวกในขณะหลับ เครื่อง CPAP มักใช้ร่วมกับหน้ากากที่สวมใส่บริเวณจมูกหรือปากเพื่อส่งแรงดันลมเข้าสู่ร่างกายแม้ว่าเครื่อง CPAP จะมีประสิทธิภาพสูงในการรักษาภาวะนอนกรน แต่เครื่องนี้มีข้อจำกัดหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของราคาที่สูง ค่าเครื่อง CPAP บางรุ่นอาจมีราคาสูงถึงหลักแสนบาท เครื่องก็ยังมีขนาดใหญ่ ต้องใช้ไฟฟ้า อาจทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกอึดอัดหรือไม่สะดวกสบายในขณะหลับ การรักษานอนกรนแบบไม่ต้องพึ่ง CPAP หากเครื่อง CPAP มีราคาสูงเกินไปและไม่สะดวกในการใช้งาน ยังมีวิธีการรักษาภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับในทางเลือกอื่นๆ ที่สามารถช่วยบรรเทาอาการได้เช่นกัน ดังนี้1. อุปกรณ์ทางทันตกรรม (Oral Appliance)อุปกรณ์ทางทันตกรรมเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ อุปกรณ์นี้ถูกออกแบบมาให้สวมใส่ในปากในระหว่างการนอนหลับ โดยมีลักษณะคล้ายกับเครื่องครอบฟัน อุปกรณ์นี้ช่วยขยับกรามหรือโคนลิ้นไปด้านหน้าเล็กน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้ทางเดินหายใจถูกปิดกั้นขณะหลับข้อดีของอุปกรณ์ทางทันตกรรม คือ มีขนาดเล็ก พกพาสะดวก ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า นอกจากนี้ อุปกรณ์ยังถูกออกแบบเฉพาะบุคคลตามขนาดช่องปากของผู้ใช้งาน ทำให้ใช้งานได้ง่ายและไม่รู้สึกอึดอัดเมื่อเทียบกับเครื่อง CPAP อุปกรณ์ทางทันตกรรมยังเป็นวิธีการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าและสะดวกสบายกว่าการใช้เครื่อง CPAP2. การรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (RF Bot)การรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุเป็นอีกหนึ่งวิธีในการรักษาภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจ การรักษานี้ใช้คลื่นความถี่วิทยุในการทำให้เนื้อเยื่อบริเวณโคนลิ้น เพดานอ่อน และเนื้อเยื่อในลำคอหดตัวแล้วก็กระชับขึ้น ลดการหย่อนคล้อยที่อาจปิดกั้นทางเดินหายใจวิธีการรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุเป็นวิธีที่ไม่ต้องใช้เวลานาน เพียงครั้งละประมาณ 15 นาที ไม่เจ็บปวดมากเหมือนการผ่าตัด ผลลัพธ์ของการรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุสามารถเห็นได้ชัดเจน มีความคงทนเมื่อเทียบกับวิธีอื่น ๆ ยังเป็นวิธีที่ไม่ต้องพึ่งพาอุปกรณ์ในขณะหลับ3. การบำบัดด้วยกล้ามเนื้อ (Myofunctional Therapy)การบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและลำคอเป็นวิธีการรักษาที่เน้นไปที่การฝึกกล้ามเนื้อบริเวณลิ้น เพดานอ่อน และลำคอ เพื่อให้กล้ามเนื้อเหล่านี้ทำงานได้อย่างถูกต้อง มีความกระชับยิ่งขึ้น การฝึกบำบัดนี้สามารถช่วยลดการหย่อนคล้อยของกล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจและลดอาการนอนกรนได้การบำบัดกล้ามเนื้อนั้นอาจรวมถึงการฝึกกล้ามเนื้อลิ้นให้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ฝึกการหายใจที่ถูกต้อง การออกกำลังกายกล้ามเนื้อเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความแข็งแรง ป้องกันการหย่อนคล้อยของเนื้อเยื่อบริเวณทางเดินหายใจข้อดีของการบำบัดด้วยกล้ามเนื้อ คือ เป็นวิธีที่ไม่ต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ใด ๆ นอกจากนี้ การฝึกฝนสามารถทำได้เองที่บ้านหลังจากได้รับคำแนะนำจากนักบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญ อย่างไรก็ตาม การบำบัดกล้ามเนื้ออาจต้องใช้เวลาและความอดทนในการฝึกฝน แต่ก็เป็นวิธีที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพในระยะยาว รับคำปรึกษา ฟรี! 4. การลดน้ำหนักการมีน้ำหนักตัวที่เกินเกณฑ์เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ เนื่องจากไขมันสะสมบริเวณลำคออาจทำให้ทางเดินหายใจแคบลง การลดน้ำหนักเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดอาการนอนกรนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือน้ำหนักตัวมากนอกจากการลดน้ำหนักจะช่วยลดอาการนอนกรนแล้ว ยังส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวม เช่น ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน การควบคุมน้ำหนักทำได้โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ควรบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย5. การผ่าตัด (Surgical Treatment)ในกรณีที่ภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับมีความรุนแรงและไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ได้ การผ่าตัดอาจเป็นทางเลือกในการรักษาที่มีประสิทธิภาพ การผ่าตัดจะมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงโครงสร้างของทางเดินหายใจ เช่น การตัดเนื้อเยื่อเพดานอ่อน การตัดต่อมทอนซิล ลดขนาดของโคนลิ้น เพื่อเพิ่มความกว้างของทางเดินหายใจและลดการอุดกั้นการผ่าตัดมักเป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางกายภาพ เช่น มีเนื้อเยื่อเพดานอ่อนที่หย่อนคล้อยมากเกินไป มีโครงสร้างทางเดินหายใจที่แคบตั้งแต่กำเนิด อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดมีความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายสูงกว่าวิธีอื่น ๆ แต่อาจมีผลข้างเคียง เช่น การเจ็บคอหรือการอักเสบหลังการผ่าตัด ปรับพฤติกรรมการนอน นอกจากการใช้วิธีการรักษาต่าง ๆ การปรับพฤติกรรมการนอน ก็สามารถช่วยลดอาการนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับได้ เช่นการนอนในท่านอนตะแคง การนอนหงายอาจทำให้ลิ้นและเพดานอ่อนตกไปขัดขวางทางเดินหายใจ การนอนในท่านอนตะแคงสามารถช่วยให้ทางเดินหายใจเปิดกว้างขึ้นและลดอาการนอนกรนการหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอนทำให้กล้ามเนื้อทางเดินหายใจหย่อนคล้อยลง อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ทำให้เกิดการอักเสบและระคายเคืองในทางเดินหายใจ การเลิกบุหรี่สามารถช่วยลดการอักเสบและป้องกันการอุดกั้นทางเดินหายใจ บทสรุป ภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากมันสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว แม้ว่าเครื่อง CPAP จะเป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของราคา ความสะดวกในการใช้งาน หากเครื่อง CPAP มีราคาสูงเกินไปสำหรับผู้ที่ต้องการรักษา ยังมีทางเลือกอื่น ๆ อีกที่สามารถช่วยบรรเทาอาการนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้อุปกรณ์ทางทันตกรรม การรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุ การบำบัดกล้ามเนื้อ แม้แต่การปรับพฤติกรรมการนอนการปรึกษาแพทย์เฉพาะทางและผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับตัวเอง เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะแต่ละคนอาจมีสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการนอนกรนที่แตกต่างกัน การรักษาภาวะนอนกรนไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายแรงและทำให้ชีวิตมีความสุข สุขภาพโดยรวมดีมากขึ้น ปรึกษาปัญหากับแพทย์เฉพาะทาง!

แก้นอนกรนแบบไม่ผ่าตัด 2025

แก้นอนกรนแบบไม่ผ่าตัดในปัจจุบัน การรักษาแก้ปัญหาอาการนอนกรนมีหลากหลายวิธีที่ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัด ซึ่งสามารถรักษาได้หลายวิธีพร้อมกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลลัพธ์ที่ดีขึ้นหนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยม คือ การใช้เครื่องมือทันตกรรมสำหรับรักษานอนกรน (Oral Appliance) ที่ช่วยขยายช่องทางเดินหายใจในขณะหลับ ร่วมกับการบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจส่วนต้น (Myofunctional Therapy) ที่ช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อที่หย่อนคล้อย การรักษานี้ช่วยขยายช่องทางเดินหายใจไม่ให้แคบลง เป็นการรักษาอาการนอนกรนจากต้นเหตุ ที่สามารถให้ผลลัพธ์ที่ดีต่อสุขภาพโดยรวมในระยะยาวได้อีกด้วยสาเหตุของอาการนอนกรนการนอนกรนมักมีหลายปัจจัยที่เป็นสาเหตุ โดยสาเหตุหลักที่พบบ่อย มีดังนี้อาจเกิดจากโครงสร้างใบหน้าที่ผิดปกติ เช่น คางสั้น กล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้นไม่แข็งแรง ทำให้ลิ้นหย่อนลงไปอุดช่องทางเดินหายใจมีไขมันสะสมบริเวณใต้คางหรือเหนียง สามารถทำให้ช่องทางเดินหายใจถูกกดทับในขณะที่กำลังนอนหลับ ทำให้เกิดอาการหยุดหายใจชั่วคราวและมีเสียงกรนเกิดขึ้นแอลกอฮอล์ทำให้กล้ามเนื้อทางเดินหายใจส่วนต้นและกล้ามเนื้อโคนลิ้น ช่องทางเดินหายใจก็จะเกิดการอุดกั้นที่ทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) และเสียงกรนได้ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจากอาการเสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับอาการเหล่านี้เป็นตัวบ่งชี้ว่าคุณอาจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) ที่ทำให้เกิดปัญหาการนอนกรน และควรได้รับการตรวจสอบและรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางและผู้เชี่ยวชาญการตรวจและการรักษานอนกรนการตรวจหาสาเหตุและระดับความรุนแรงของการนอนกรนสามารถทำได้ผ่านการตรวจการนอนหลับ Sleep Test เป็นการวัดค่าและเก็บข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับของคุณ เช่นตรวจการนอนหลับที่บ้านกับ VitalSleep Clinic สะดวก ปลอดภัย แม่นยำหลังจากการตรวจการนอนหลับ Sleep Test แล้ว แพทย์เฉพาะทางจะนำผลการตรวจมาใช้ในการวินิจฉัย วางแผนการรักษาที่เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคลวิธีการรักษาแก้นอนกรนแบบไม่ผ่าตัดอ่านเพิ่มเติม:ข้อด้อยของการผ่าตัดแก้นอนกรนการผ่าตัดแก้นอนกรนอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่นข้อดีของการรักษานอนกรนแบบไม่ผ่าตัดวิธีการรักษาแก้นอนกรนแบบไม่ผ่าตัดมีหลายทางเลือก แพทย์เฉพาะทางจะเลือกวิธีที่เหมาะสมตามอาการของแต่ละบุคคล สามารถใช้หลายวิธีร่วมกันเพื่อรักษาได้ทั้งต้นเหตุและปลายเหตุ เช่น การใช้เครื่อง CPAP เพื่อช่วยขยายทางเดินหายใจร่วมกับการบำบัดกล้ามเนื้อ Myofunctional Therapyการรักษาที่ถูกต้องยังเป็นผลดีต่อสุขภาพโดยรวมในระยะยาว โดยเฉพาะในคนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมองในกรณีที่สงสัยว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) ควรเข้ารับการตรวจการนอนหลับ Sleep Test และปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม เพื่อการนอนหลับที่ดีขึ้นและส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวม“รักษานอนกรน ที่ต้นเหตุ Better Sleep for Better Tomorrow”สรุปวิธีการรักษาแก้นอนกรนแบบไม่ผ่าตัดในปี 2025 มีความหลากหลายและมีประสิทธิภาพสูง ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องมือทันตกรรม การบำบัดกล้ามเนื้อ การรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุ หรือการใช้เครื่อง CPAP ซึ่งแต่ละวิธีมีข้อดีเฉพาะที่ตอบโจทย์ปัญหาอาการนอนกรนในแต่ละกรณี การเข้ารับการตรวจ Sleep Test เพื่อตรวจหาสาเหตุและระดับความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญในการรักษา สุขภาพการนอนที่ดีมีผลโดยตรงต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของเรา ดังนั้น หากคุณมีปัญหาการนอนกรน ควรรีบหาทางแก้ไขเพื่อสุขภาพที่ดีและคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน

ทำไมการตรวจการนอนหลับ ถึงสำคัญต่อสุขภาพของเรา

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมในบางคืนเราถึงนอนหลับไม่สนิท ตื่นเช้าขึ้นมาก็ยังรู้สึกเหนื่อย หรือบางคนอาจตื่นมากลางดึกบ่อย ๆ จนทำให้รู้สึกนอนไม่พอ

นอนกัดฟันรักษาได้ รวมวิธีแก้ “นอนกัดฟัน ปวดฟัน” อาการกัดฟันไม่รู้ตัว

ในบางครั้งคนที่นอนกัดฟันเองก็อาจไม่รู้ตัวจนกระทั่งเกิดอาการปวดฟัน ปวดกราม หรือมีคนรอบข้างสังเกตเห็นเสียงกัดฟันในเวลานอนตอนกลางคืน นอนกัดฟันรักษาได้!

ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ เกิดจากอะไรกันนะ

ข้อต่อขากรรไกรอักเสบหรือที่เรียกกันว่า Temporomandibular joint disorder (TMD) เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับข้อต่อขากรรไกร ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างขากรรไกรล่างและฐานของกระโหลกศีรษะ ภาวะนี้ทำให้เกิดอาการปวดขากรรไกร ปวดกราม อาจส่งผลต่อกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับข้อต่อได้สาเหตุของข้อต่อขากรรไกรอักเสบ (TMD)การเกิดข้อต่อขากรรไกรอักเสบนั้นมีหลายสาเหตุร่วมที่ส่งผล ซึ่งบางครั้งไม่สามารถหาสาเหตุที่ชัดเจนได้ แต่อาการมักจะเกิดจากการรวมกันของปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้อาการของข้อต่อขากรรไกรอักเสบอาการที่พบได้บ่อยในผู้ที่มีปัญหาข้อต่อขากรรไกรอักเสบ ได้แก่วิธีรักษาข้อต่อขากรรไกรอักเสบด้วยเครื่องมือ Myosa® หนึ่งในวิธีการรักษาข้อต่อขากรรไกรที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือการใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า Myosa® ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยบรรเทาอาการและลดแรงกระแทกจากข้อต่อขากรรไกร รวมถึงช่วยปรับตำแหน่งของขากรรไกรให้ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดและอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพข้อดีของการรักษาด้วย Myosa®การรักษาด้วย Myosa® มีหลายข้อดีหลายข้อ ที่ทำให้เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่กำลังประสบปัญหาข้อต่อขากรรไกรอักเสบการทำงานของ Myosa®เครื่องมือ Myosa® จะทำงานโดยการลดแรงกระแทกที่เกิดจากข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง เมื่อใส่เครื่องมือนี้เข้าไป จะช่วยป้องกันการนอนกัดฟัน ปวดฟัน รวมถึงลดแรงกระแทกที่ข้อต่อต้องเผชิญในระหว่างการบดเคี้ยว นอกจากนี้ยังช่วยจัดขากรรไกรให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ลดอาการปวดได้ทันทีหลังจากเริ่มใช้ แล้วยังช่วยป้องกันการบาดเจ็บในระยะยาวการใช้งาน Myosa® ในการรักษาเครื่องมือ Myosa® ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในระหว่างการนอนหลับเป็นหลัก ในกรณีที่คนไข้มีปัญหากัดฟันหรือขากรรไกรในระหว่างวัน ก็สามารถใช้เครื่องมือนี้ในช่วงกลางวันได้เหมือนกัน การใส่เครื่องมือ Myosa® ในระหว่างวันจะช่วยลดการทำงานของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวและใบหน้า ทำให้กล้ามเนื้อและข้อต่อขากรรไกรได้รับการบรรเทาและกลับมาทำงานอย่างสมดุลนอกจากนี้ Myosa® ยังเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ โดยการฝึกการบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ ซึ่งจะช่วยให้การรักษาปัญหาข้อต่อขากรรไกรและการนอนกัดฟันมีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากขึ้นสรุปข้อต่อขากรรไกรอักเสบ หรือ TMD เป็นภาวะที่เกิดจากหลายปัจจัย เช่น การนอนกัดฟัน ฟันไม่สบกัน หรือการทำงานที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อขากรรไกร การรักษาด้วยเครื่องมือ Myosa® เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ ช่วยลดแรงกระแทกและอาการปวดได้ดี สามารถใช้ได้ทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืนเพื่อลดอาการและป้องกันการบาดเจ็บในระยะยาวหากคุณหรือคนใกล้ตัวมีอาการปวดขากรรไกร เสียงคลิกขณะอ้าปาก มีปัญหาอาการนอนกัดฟัน ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางและผู้เชี่ยวชาญทันที เพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม

นอนกรนเรื้อรัง_นอนกรนเรื้อรัง รักษายังไงก็ไม่หาย ต้องลองวิธีนี้!

นอนกรนรักษามาตั้งหลายวิธีก็ไม่เห็นผล สุดท้ายก็ยังนอนกรนเสียงดังอยู่ดี ต้องรักษาด้วยวิธีไหนจึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น มาหาคำตอบวิธีการรักษา

คุณหมอเคลียร์ข้อสงสัย “สาเหตุ อันตราย วิธีรักษาการนอนกรนและ โรคหยุดหายใจขณะหลับ”

สาเหตุ อันตราย และวิธีการรักษาการนอนกรนและโรคหยุดหายใจขณะหลับ โดยคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ การนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นปัญหาที่หลายคนประสบ โดยเฉพาะผู้ที่สงสัยว่าตนเองอาจมีภาวะดังกล่าว วันนี้เราจะพูดคุยกับคุณหมอเกี่ยวกับสาเหตุ อันตราย และวิธีการรักษาการนอนกรน รวมถึงโรคหยุดหายใจขณะหลับ มาฟังกันเลยค่ะซีมง: ทำไมบางคนถึงมีอาการกรนแต่บางคนกลับไม่มีอาการกรนคะ?​คุณหมอ: การกรนมี 2 แบบสาเหตุของการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับซีมง: ค่ะคุณหมอ…สรุปแล้ว โรคหยุดหายใจขณะหลับอันตรายยังไงบ้างคะ?คุณหมอ: อันตรายของภาวะหยุดหายใจขณะหลับนะคะ ก็ลองนึกสภาพนะคะว่า แค่ซีมงทำงานหนักๆ หรือว่างานเยอะ นอนตี 3 ตี 4 แล้วต้องตื่นมาทำงานแต่เช้า ก็จะรู้สึกไม่เฟรชเนอะ เพลียๆ ตื้อๆ ทั้งวัน ง่วงทั้งวันซีมง: เอ๊ะ หรือว่าจะเป็นอยู่ (เสียงหัวเราะ)คุณหมอ: อ้าวจริงเหรอ (เสียงหัวเราะ) ก็คือการนอนหลับนะคะ เป็นสิ่งที่สำคัญในการใช้ชีวิต มันเหมือนการ Recharge ถ้าเรานอนไม่ได้ เหมือนเราไม่ได้ Recharge พลังงานชีวิตเราจะลดลง ทีนี้พอคนไข้หายใจเข้าไม่ได้ เหมือนเราไม่มีออกซิเจน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ หัวใจจะทำงานหนัก สัญญาณแรกๆที่โผล่มาก็คือ ความดันโลหิตสูง ส่งผลให้เป็นโรคหัวใจได้ อีกเรื่องนึงคือ เราจะตื่นมาไม่สดชื่น ก็จะเกิดอาการ “Daytime Sleepiness” ก็คือง่วงหงาวหาวนอนตลอดทั้งวันเลยซีมง: เอาละค่ะ… วันนี้เราก็ได้รู้สาเหตุและอันตรายของการกรนและโรคหยุดหายใจขณะหลับไปแล้วนะคะ คุณหมอมีอะไรจะทิ้งท้ายกับคนที่ดูอยู่ไหมคะคุณหมอ: ก่อนจบวันนี้นะคะ ขอฝากไว้ว่า ใครมีคนใกล้ชิดที่มีอาการนอนกรนเสียงดัง แล้วก็มีอาการหยุดหายใจไปแล้ว “เฮือกกก” กลับมาแบบนี้ ให้สันนิษฐานว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ก็พามาเลย ที่ Vital Sleep Clinic นะคะซีมง: ค่ะ วันนี้เราก็ได้ความรู้ไปมากมาย ใครที่สนใจอยากรู้วิธีรักษาการนอนกรนเป็นอย่างไรบ้าง ติดตามชมได้ใน EP ต่อไปเลยค่ะก็ทราบกันไปแล้วนะคะว่า สาเหตุของการนอนกรนมาจากไหน อาการหยุดหายใจขณะหลับมีลักษณะยังไง ถ้าอยากรู้ว่าคุณหมอจะมีวิธีแก้นอนกรนยังไง สามารถติดตามต่อได้ใน EP ต่อไปนะคะอันตรายของภาวะหยุดหายใจขณะหลับการหยุดหายใจขณะหลับส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวม เพราะในระหว่างที่หายใจไม่ได้ ร่างกายจะขาดออกซิเจน ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น และผลที่ตามมาก็คือการนอนหลับอย่างมีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นกระบวนการที่ช่วยฟื้นฟูร่างกาย หากร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนเพียงพอ พลังงานชีวิตจะลดลง ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลงเรื่อย ๆวิธีการรักษาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับการรักษาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุและระดับความรุนแรงของภาวะ โดยที่ Vital Sleep Clinic มีการรักษาแบบครบวงจร ทั้งการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดและไม่ผ่าตัด พร้อมด้วยการบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ เช่น Myofunction Therapy และจำหน่ายอุปกรณ์ช่วยลดการกรน เช่น Myosa®นอกจากนี้ ทีมแพทย์ที่ Vital Sleep Clinic เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการรับรองจากสถาบันนานาชาติ มีประสบการณ์และความรู้เฉพาะทางเกี่ยวกับกล้ามเนื้อใบหน้าและการรักษาภาวะนอนกรน จึงมั่นใจได้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการดูแลอย่างดีที่สุดสรุปการนอนกรนและโรคหยุดหายใจขณะหลับมีทั้งแบบที่ไม่อันตรายและแบบที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ สาเหตุหลัก ๆ เกิดจากการตีบแคบของทางเดินหายใจ ซึ่งส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ หากคุณพบว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการดังกล่าว ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาและคำแนะนำที่เหมาะสม

7 วิธีรักษานอนกรนและภาวะหยุดหายใจ

วิธีรักษานอนกรนที่หลาย ๆ คนอาจจะกำลังมองหาวิธีที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ เพื่อจะได้นอนหลับอย่างมีคุณภาพและตื่นขึ้นมาพร้อมกับความสดชื่นในทุก ๆ เช้า อาการนอนกรนที่เกิดขึ้น นอกจากจะเป็นปัญหากับคนที่อยู่รอบตัวคุณแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวของคุณเองอีกด้วยลองมาดู 7 วิธี ที่สามารถช่วยลดอาการนอนกรนได้โดยไม่ต้องพึ่งอุปกรณ์ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจากทั้ง 7 วิธีที่แนะนำนี้เป็นเพียงวิธีการดูแลตัวเองเบื้องต้น แต่หากคุณทำตามแล้วยังมีอาการนอนกรนอยู่ หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย ควรรีบเข้ามาพบแพทย์เพื่อตรวจการนอนหลับ Sleep Test และรับการรักษาอย่างถูกวิธีสัญญาณของภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่ควรสังเกตหากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการเหล่านี้ ควรรีบเข้ารับการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เพื่อทำการวินิจฉัยและได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เพราะภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นอันตรายที่อาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวการรักษาอาการนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับโดยแพทย์เฉพาะทางที่ VitalSleep Clinic เรามีวิธีการรักษาอาการนอนกรนโดยไม่ต้องผ่าตัดที่ได้ผลดี 4 วิธี ได้แก่เป็นนวัตกรรมการรักษาที่ช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าและทางเดินหายใจให้แข็งแรง เป็นวิธีที่แพทย์แนะนำเพราะช่วยแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุได้อ่านเพิ่มเติม:เครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ทางเดินหายใจเปิดกว้างขึ้นในขณะที่นอนหลับ โดยจะช่วยดันขากรรไกรล่างไปข้างหน้าเล็กน้อย ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพในการลดอาการนอนกรนอ่านเพิ่มเติม:และที่ VitalSleep Clinic คุณมั่นใจได้ในคุณภาพและความปลอดภัยของอุปกรณ์ เพราะผลิตจากห้องแล็บที่อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทางที่ได้รับการรับรองจาก American Board of Dental Sleep Medicineจะสำหรับคนที่มีอาการกรนจากการหย่อนของกล้ามเนื้อบริเวณโคนลิ้นหรือเยื่อบุจมูก ทำให้ลมหายใจไหลเวียนได้สะดวกขึ้น โดยการรักษานี้จะต้องทำโดยแพทย์เฉพาะทางเท่านั้นอ่านเพิ่มเติม:เครื่องช่วยหายใจนี้ ป้องกันทางเดินหายใจไม่ให้ปิดกั้นในขณะนอนหลับ ทำให้คุณรับออกซิเจนได้อย่างเพียงพอ และเหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับอย่างรุนแรงอ่านเพิ่มเติม:อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่เดินทางบ่อยหรือไม่สะดวกในการพกพาเครื่อง CPAP แพทย์อาจแนะนำการใช้เครื่องมือทันตกรรมแทนเพื่อความสะดวกกับคนไข้สรุปวิธีลดอาการนอนกรนและแนวทางรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่แนะนำโดยแพทย์เฉพาะทาง โดยเริ่มจากการปรับพฤติกรรม เช่น การลดน้ำหนัก, หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และบุหรี่, นอนหลับให้เพียงพอ, ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และ เลี่ยงยาที่ทำให้กล้ามเนื้อลำคอหย่อนตัว หากอาการยังคงอยู่ ควรเข้ารับการตรวจและรักษาโดยแพทย์ เช่น การใช้เครื่องมือทันตกรรม (Oral Appliance), เครื่องช่วยหายใจ CPAP, การทำ Myofunctional Therapy หรือ การใช้คลื่นวิทยุ RF ซึ่งช่วยแก้ไขต้นเหตุของอาการ ที่ VitalSleep Clinic ยังมีเทคโนโลยีทันสมัยและแพทย์เฉพาะทางที่สามารถให้คำแนะนำและรักษาได้อย่างเหมาะสม เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพการนอนที่ดีขึ้นและลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพในระยะยาว

Why choose VitalSleep and Wellness
ตรวจคุณภาพการนอนหลับได้จากที่บ้าน

ตรวจการหลับ Sleep Test ที่ VitalSleep and Wellness สะดวก ง่าย ไม่ต้องเดิน ทาง มีเจ้าหน้าที่เดินทางไปติดตั้ง ให้ถึงที่บ้าน อ่านผลการตรวจ โดยแพทย์เฉพาะทาง Dental Sleep Medicine

ลดเสียงกรนด้วยวิธีการที่หลากหลาย

ที่ VitalSleep and Wellness นําเสนอแนวทางการรักษานอนกรน ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ออกแบบ เฉพาะบุคคล รักษาได้ทั้ง แบบไม่ผ่าตัด และแบบผ่าตัด และการรักษาครอบคลุมไปถึงการรักษาอาการนอน กัดฟัน และข้อต่อขากรรไกรอักเสบ

ค้นหา และรักษานอนกรน ที่ต้นเหตุ

เน้นการตรวจเชิงลึกหลายแนวทาง เพื่อค้นหาและวินิจฉัยสาเหตุการรักษาที่แท้จริง มุ่งเน้นรักษาและบําบัดสาเหตุของการกรนที่ต้นเหตุ คือ กล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น ด้วย Myofunctional Therapy

แนวทางการรักษาแบบองค์รวม ผสมผสาน

นําเสนอการรักษาที่หลากหลาย ออกแบบเฉพาะบุคล เน้นการรักษาแบบผสมผสาน การรักษาหลายอย่าง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ครอบคลุมทุกความแตกต่างของแต่ละบุคคล

ทพ. ดร. อมรพงษ์ วชิรมน

Medical Director
แพทย์เฉพาะทางรักษานอนกรน

VitalSleep and Wellness
ดูแลโดย แพทย์เฉพาะทาง และนักกายภาพบําบัดวิชาชีพ
  • Polysomnography - Sleep Test ตรวจการนอนหลับ
  • เครื่องมือทันตกรรม รักษานอนกรน
  • เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก รักษานอนกรน
  • รักษาอาการ นอนกัดฟัน
  • รักษาอาการ ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ ขากรรไกรมีเสียงคลิก
  • บำบัดกล้ามเนื้อใบหน้า และทางเดินหายใจส่วนต้น
  • ผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร รักษานอนกรน
…and much more!

Promotion Sleep Test

ตรวจคุณภาพการนอนหลับ

สะดวก ง่าย ทำได้จากที่บ้าน

แพทย์เฉพาะทางอ่านผล

พิเศษ 6,900 บาท

(ปกติ 10,000 บาท)