สาเหตุ อันตราย และวิธีการรักษาการนอนกรนและโรคหยุดหายใจขณะหลับ โดยคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ การนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นปัญหาที่หลายคนประสบ โดยเฉพาะผู้ที่สงสัยว่าตนเองอาจมีภาวะดังกล่าว วันนี้เราจะพูดคุยกับคุณหมอเกี่ยวกับสาเหตุ อันตราย และวิธีการรักษาการนอนกรน รวมถึงโรคหยุดหายใจขณะหลับ มาฟังกันเลยค่ะ
ซีมง: ทำไมบางคนถึงมีอาการกรนแต่บางคนกลับไม่มีอาการกรนคะ?
คุณหมอ: การกรนมี 2 แบบ
- แบบที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย: เกิดมาจากการที่เพดานอ่อนและลิ้นไก่ของเรามันพลิ้วไปกับเวลาที่เราหายใจ จึงทำให้เกิดเสียงขึ้น แต่ก็ไม่ได้ดังมาก แค่ทำให้คนข้างๆเกิดความรำคาญ
- แบบที่ก่อให้เกิดอันตราย: เกิดจากการที่ทางเดินหายใจตีบแคบ ทำให้คนไข้นอนไม่ได้ หายใจเข้าไม่ได้ ทำให้เกิดภาวะ “นอนกรน หยุดหายใจ” หรือ “โรคหยุดหายใจขณะหลับ” วิธีการสังเกตคือ การกรนอันตรายจะมีเสียงกรนที่ดังมาก ดังครืด ๆ แล้วพักนึงก็จะหายไป หายไปแล้วก็ดัง “เฮือก” แล้วคนไข้จะกลับมาหายใจ อันนี้คือสัญญาณที่บอกว่ามันอันตราย
สาเหตุของการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
- ทางเดินหายใจถูกปิดกั้น: เกิดจากสิ่งที่งอกขึ้นมาปิดทางเดินหายใจ ทำให้อากาศไหลผ่านได้ยาก
- โรคอ้วน: ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากมักจะมีไขมันสะสมในบริเวณลำคอ ทำให้ทางเดินหายใจแคบลง โดยเฉพาะในคนที่มีลำคอสั้น เมื่อทางเดินหายใจแคบ อากาศก็จะไหลผ่านได้ยาก ทำให้เกิดโรคหยุดหายใจขณะหลับ
- การหายใจทางปาก: ผู้ที่หายใจทางปากมักมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อทางเดินหายใจน้อยลง การฝึกหายใจทางจมูกจึงเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยลดการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจได้
ซีมง: ค่ะคุณหมอ…สรุปแล้ว โรคหยุดหายใจขณะหลับอันตรายยังไงบ้างคะ?
คุณหมอ: อันตรายของภาวะหยุดหายใจขณะหลับนะคะ ก็ลองนึกสภาพนะคะว่า แค่ซีมงทำงานหนักๆ หรือว่างานเยอะ นอนตี 3 ตี 4 แล้วต้องตื่นมาทำงานแต่เช้า ก็จะรู้สึกไม่เฟรชเนอะ เพลียๆ ตื้อๆ ทั้งวัน ง่วงทั้งวัน
ซีมง: เอ๊ะ หรือว่าจะเป็นอยู่ (เสียงหัวเราะ)
คุณหมอ: อ้าวจริงเหรอ (เสียงหัวเราะ) ก็คือการนอนหลับนะคะ เป็นสิ่งที่สำคัญในการใช้ชีวิต มันเหมือนการ Recharge ถ้าเรานอนไม่ได้ เหมือนเราไม่ได้ Recharge พลังงานชีวิตเราจะลดลง ทีนี้พอคนไข้หายใจเข้าไม่ได้ เหมือนเราไม่มีออกซิเจน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ หัวใจจะทำงานหนัก สัญญาณแรกๆที่โผล่มาก็คือ ความดันโลหิตสูง ส่งผลให้เป็นโรคหัวใจได้ อีกเรื่องนึงคือ เราจะตื่นมาไม่สดชื่น ก็จะเกิดอาการ “Daytime Sleepiness” ก็คือง่วงหงาวหาวนอนตลอดทั้งวันเลย
ซีมง: เอาละค่ะ… วันนี้เราก็ได้รู้สาเหตุและอันตรายของการกรนและโรคหยุดหายใจขณะหลับไปแล้วนะคะ คุณหมอมีอะไรจะทิ้งท้ายกับคนที่ดูอยู่ไหมคะ
คุณหมอ: ก่อนจบวันนี้นะคะ ขอฝากไว้ว่า ใครมีคนใกล้ชิดที่มีอาการนอนกรนเสียงดัง แล้วก็มีอาการหยุดหายใจไปแล้ว “เฮือกกก” กลับมาแบบนี้ ให้สันนิษฐานว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ก็พามาเลย ที่ Vital Sleep Clinic นะคะ
ซีมง: ค่ะ วันนี้เราก็ได้ความรู้ไปมากมาย ใครที่สนใจอยากรู้วิธีรักษาการนอนกรนเป็นอย่างไรบ้าง ติดตามชมได้ใน EP ต่อไปเลยค่ะ
ก็ทราบกันไปแล้วนะคะว่า สาเหตุของการนอนกรนมาจากไหน อาการหยุดหายใจขณะหลับมีลักษณะยังไง ถ้าอยากรู้ว่าคุณหมอจะมีวิธีแก้นอนกรนยังไง สามารถติดตามต่อได้ใน EP ต่อไปนะคะ
อันตรายของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
การหยุดหายใจขณะหลับส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวม เพราะในระหว่างที่หายใจไม่ได้ ร่างกายจะขาดออกซิเจน ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น และผลที่ตามมาก็คือ
- ความดันโลหิตสูง เมื่อหัวใจทำงานหนัก ความดันโลหิตจะสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
- อาการง่วงนอนตอนกลางวัน (Daytime Sleepiness) เนื่องจากร่างกายไม่ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ผู้ป่วยมักจะรู้สึกเพลีย ง่วงเหงาหาวนอนตลอดทั้งวัน ส่งผลต่อการทำงานและคุณภาพชีวิตโดยรวม
การนอนหลับอย่างมีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นกระบวนการที่ช่วยฟื้นฟูร่างกาย หากร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนเพียงพอ พลังงานชีวิตจะลดลง ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลงเรื่อย ๆ
วิธีการรักษาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
การรักษาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุและระดับความรุนแรงของภาวะ โดยที่ Vital Sleep Clinic มีการรักษาแบบครบวงจร ทั้งการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดและไม่ผ่าตัด พร้อมด้วยการบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ เช่น Myofunction Therapy และจำหน่ายอุปกรณ์ช่วยลดการกรน เช่น Myosa®
นอกจากนี้ ทีมแพทย์ที่ Vital Sleep Clinic เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการรับรองจากสถาบันนานาชาติ มีประสบการณ์และความรู้เฉพาะทางเกี่ยวกับกล้ามเนื้อใบหน้าและการรักษาภาวะนอนกรน จึงมั่นใจได้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด
สรุป
การนอนกรนและโรคหยุดหายใจขณะหลับมีทั้งแบบที่ไม่อันตรายและแบบที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ สาเหตุหลัก ๆ เกิดจากการตีบแคบของทางเดินหายใจ ซึ่งส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ หากคุณพบว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการดังกล่าว ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาและคำแนะนำที่เหมาะสม